12 รูปแบบกราฟ Forex ที่เทรดเดอร์ควรรู้

2025-02-21
สรุป

เรียนรู้ 12 รูปแบบกราฟ Forex ที่เทรดเดอร์ควรรู้ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทิศทางตลาดและหาจังหวะเทรดที่ดีที่สุด สำหรับการตัดสินใจที่แม่นยำขึ้น

เมื่อคุณศึกษากราฟเทรดอย่างสม่ำเสมอจะทำให้คุณเริ่มเห็นรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่เทรดเดอร์ใช้ในการตัดสินใจเข้าซื้อหรือขาย บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับรูปแบบกราฟที่ควรจำและเข้าใจ เพื่อช่วยให้การเทรดของคุณมีความแม่นยำและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


รูปแบบกราฟคืออะไร?

รูปแบบกราฟ- EBC

รูปแบบกราฟ คือพฤติกรรมของราคาที่เกิดซ้ำ ๆ ในตลาด เมื่อเราศึกษาว่าหลังจากเกิดรูปแบบหนึ่งในอดีตแล้ว ราคามักเคลื่อนไหวอย่างไร ก็สามารถใช้ข้อมูลนั้นช่วยคาดการณ์ทิศทางของราคาครั้งต่อไปได้


การสังเกตการกลับทิศของแนวโน้มก็เป็นอีกจุดสำคัญ เนื่องจากเป็นสัญญาณว่าแนวโน้มของตลาดอาจเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น


อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของรูปแบบกราฟแต่ละแบบจะขึ้นอยู่กับสภาพตลาดในขณะนั้น เช่น ตลาดที่ผันผวนหรือสงบ หรืออยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบกราฟที่พบได้บ่อยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ


ประเภทของรูปแบบกราฟที่พบได้บ่อย

  • รูปแบบต่อเนื่อง (Continuation patterns): รูปแบบเหล่านี้แสดงถึงการหยุดชั่วคราวในแนวโน้มที่กำลังดำเนินอยู่ ก่อนที่ราคาจะกลับไปเคลื่อนไหวในทิศทางเดิม ตัวอย่างที่พบได้บ่อย เช่น รูปแบบ Triangles, Flags และ Pennants

  • รูปแบบการกลับทิศทาง (Reversal patterns): รูปแบบเหล่านี้บ่งชี้ว่าแนวโน้มที่มีอยู่กำลังจะเปลี่ยนทิศทาง

  • รูปแบบสองทิศทาง (Bilateral patterns): รูปแบบนี้บ่งชี้ว่าตลาดอาจเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดก็ได้ เนื่องจากความผันผวนในตลาด


เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานแล้ว ต่อไปเราจะมาดูกันว่ารูปแบบกราฟที่พบได้บ่อยในการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีอะไรบ้าง


1. Ascending triangle (รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้น)

 Ascending triangle-EBC

รูปแบบ Ascending triangle เกิดขึ้นเมื่อมีราคาสูงสุดที่เป็นแนวนอนมาตัดกับราคาต่ำสุดที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น โดยเส้นแนวนอนด้านบนคือแนวต้าน (resistance) และเส้นแนวลาดเอียงด้านล่างคือแนวรับ (support)


รูปแบบนี้บ่งชี้ถึงการต่อเนื่องของแนวโน้ม โดยมักเกิดขึ้นหลังจากการขึ้นของราคา (uptrend) ในช่วงเวลานี้ ตลาดจะเข้าสู่ช่วงการรวมตัว (consolidation) หรือการหยุดชั่วคราวของแนวโน้ม แต่หากราคาทะลุขึ้นไปเหนือแนวต้านแนวโน้มขาขึ้นใหม่ (uptrend) จะเริ่มต้น


เทรดเดอร์มักจะรอการยืนยันรูปแบบก่อนที่จะเริ่มเทรด วิธีหนึ่งในการยืนยันรูปแบบนี้ขึ้นคือการดูที่อินดิเคเตอร์ปริมาณการซื้อขาย (volume indicators) โดยปริมาณการซื้อขายจะลดลง แต่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อราคาทะลุแนวต้าน ซึ่งบ่งชี้ว่าราคาจะเคลื่อนไหวขึ้นต่อไป


ถึงแม้ว่าราคาจะมักทะลุออกในทิศทางเดียวกับแนวโน้มเดิมที่มีอยู่ แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะบางครั้งรูปแบบ Ascending triangle อาจบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาลง (downtrend) หากราคาทะลุลงต่ำกว่าหรือปริมาณการซื้อขายลดลง


2. Descending Triangle (รูปแบบสามเหลี่ยมขาลง)

Descending Triangle - EBC

รูปแบบ Descending Triangle คือรูปแบบที่ตรงข้ามกับ Ascending triangle และเป็นหนึ่งในรูปแบบกราฟที่เทรดเดอร์มักมองหา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากการลงของราคา (downtrend) โดยเกิดจากราคาต่ำสุดที่เป็นแนวนอน (แนวรับ) มาตัดกับราคาสูงสุดที่ลดลง (แนวต้าน)


รูปแบบนี้บ่งชี้ถึงการต่อเนื่องของแนวโน้ม โดยสื่อว่าตลาดอาจจะทะลุผ่านระดับแนวรับลงไป ซึ่งเป็นสัญญาณขาลง (bearish signal) แต่ถ้าตลาดทะลุผ่านแนวต้านขึ้นไปแทน นั่นอาจหมายถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นใหม่ (uptrend)


เช่นเดียวกับรูปแบบ Ascending triangle ปริมาณการซื้อขายจะลดลง ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อราคาทะลุออก ซึ่งจะทำให้สัญญาณมีความแข็งแกร่งมากขึ้น


3. Symmetrical Triangle (รูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตร)

Symmetrical Triangle - EBC

รูปแบบ Symmetrical Triangle เกิดขึ้นเมื่อเส้นแนวโน้มทั้งสองเส้น (หนึ่งเป็นเส้นขาขึ้นและอีกเส้นเป็นเส้นขาลง) เข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยปกติแล้วเหมือนกับการผสมระหว่างรูปแบบ Ascending triangle และ Descending Triangle แต่จะไม่มีเส้นแนวนอนอีกต่อไป


รูปแบบนี้สามารถบ่งบอกหลายอย่าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพตลาด


โดยทั่วไปรูปแบบ Symmetrical Triangle มักจะถูกมองว่าเป็นรูปแบบการต่อเนื่องของแนวโน้ม เพราะเมื่อมันเกิดขึ้น ตลาดมักจะดำเนินตามแนวโน้มที่มีอยู่แล้ว หากไม่มีกระแสของแนวโน้มที่ชัดเจนก่อนที่รูปแบบนี้จะเกิดขึ้น จะเป็นรูปแบบที่ราคาสามารถเคลื่อนไหวไปได้ทั้งสองทิศทาง เมื่อราคาทะลุออกไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แนวโน้มในทิศทางนั้นก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป


การเทรดในรูปแบบนี้ต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวที่อาจเกิดขึ้นในทั้งสองทิศทาง และควรจับตาดูว่าแนวโน้มจะเริ่มต้นขึ้นในทิศทางใด ก่อนตัดสินใจซื้อหรือขาย


4. Flag (รูปแบบธง)


 Flag-EBC

รูปแบบ Flag ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับธง โดยจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นแนวรับและแนวต้านของตลาดขนานกัน ไม่ว่าจะมีการลาดขึ้นหรือลาดลง ในที่สุดจะมีการทะลุออกไปในทิศทางตรงข้ามกับแนวโน้มเดิม


  • ใน bullish flag เส้นทั้งสองจะเอียงลง การทะลุผ่านแนวต้านจะแสดงถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นใหม่

  • ใน bearish flag เส้นทั้งสองจะเอียงขึ้น การทะลุผ่านแนวรับจะบ่งบอกถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาลงใหม่


รูปแบบที่คล้ายกับ Flag คือ Pennant ซึ่งก็สะท้อนถึงความเป็นไปได้ที่ราคาจะทะลุออกจากช่วงพักตัวของตลาด


แม้รูปแบบ Flag จะถูกมองเป็นรูปแบบการกลับตัว (reversal pattern) เนื่องจากการเคลื่อนไหวภายในธงจะเปลี่ยนทิศทางเมื่อราคาทะลุออก แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะถูกมองเป็นสัญญาณการต่อเนื่องของแนวโน้ม เพราะมักจะเกิดขึ้นหลังจากแนวโน้มขาขึ้น (bullish flag) หรือแนวโน้มขาลง (bearish flag)


โดยสามารถจดจำรูปแบบนี้ได้ใน 3 ขั้นตอน: ขั้นตอนแรกคือราคาวิ่งไปในทิศทางชัดเจน จากนั้นเริ่มพักตัวช้า ๆ ในทิศทางตรงข้าม ซึ่งก็คือช่วงที่เกิด "Flag" และสุดท้ายคือการทะลุกรอบราคาจากช่วงพักตัวนั้น


5. Wedge (รูปแบบสามเหลี่ยมรูปลิ่ม)

Wedge- EBC

รูปแบบ Wedge เป็นรูปแบบทางเทคนิคที่มีลักษณะคล้ายกับ Flag แต่จะแตกต่างกันตรงที่เส้นแนวโน้มจะเอียงเข้าหากันแทนที่จะขนานกัน และเมื่อรูปแบบพัฒนาต่อไป มักจะมาพร้อมกับปริมาณการซื้อขาย (volume) ที่ลดลง


Wedge แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ Rising Wedge และ Falling Wedge

  • Rising Wedge: ราคามักจะทะลุลงต่ำกว่าแนวรับ ซึ่งถือเป็นสัญญาณขาลง (Bearish) เทรดเดอร์อาจใช้จังหวะนี้เปิดสถานะขาย หรือปิดสถานะซื้อเดิมที่มีอยู่

  • Falling Wedge: ราคามักจะทะลุแนวต้านขึ้นไป ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น (Bullish) เทรดเดอร์อาจใช้จังหวะนี้เปิดสถานะซื้อ หรือปิดสถานะขาย


นอกจากใช้เป็นสัญญาณสำหรับการเข้าเทรดเมื่อเกิดการทะลุแล้ว เทรดเดอร์ดบางคนยังใช้โอกาสในช่วงที่ราคาเคลื่อนไหวภายใน Wedge เพื่อเก็บกำไรระยะสั้นจากการแกว่งของราคา


6. Double Top (รูปแบบสองยอด)

Double Top - EBC

รูปแบบ Double Top จะเกิดขึ้นเมื่อราคาปรับตัวขึ้นไปแตะจุดสูงสุดสองรอบติดกัน โดยมีการพักตัวเล็กน้อยระหว่างยอดทั้งสอง ทำให้เมื่อมองบนกราฟแล้วจะเห็นเป็นลักษณะคล้ายตัว “M”


รูปแบบนี้ถือเป็นสัญญาณการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง (Bearish Reversal Pattern) ซึ่งบ่งชี้ว่าราคามีแนวโน้มจะร่วงลงต่ำกว่าแนวรับที่เกิดขึ้นระหว่างยอดทั้งสอง การยืนยันแนวรับตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากพิจารณาเพียงการเกิดยอดสองยอดโดยไม่ดูแนวรับ อาจทำให้การวิเคราะห์ผิดพลาด


ในรูปแบบนี้ตลาดที่เคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นพยายามดันราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่สองครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เพราะถูกแรงขายกดให้ร่วงลงทั้งสองรอบ สะท้อนว่ากำลังของฝั่งซื้อเริ่มลดลง และแนวโน้มขาขึ้นอาจใกล้หมดแรงแล้ว


โดยทั่วไป จุดสูงสุดครั้งที่สองมักจะต่ำกว่าจุดแรก ซึ่งบ่งชี้ว่าแรงซื้อกำลังจะสิ้นสุด


7. Double Bottom (รูปแบบสองฐาน)

Double Bottom เป็นรูปแบบที่ตรงข้ามกับ Double Top โดยจะเกิดขึ้นเมื่อราคาลงมาทดสอบแนวรับสองครั้ง แต่ไม่สามารถทะลุลงไปได้ และเกิดการดีดกลับขึ้นระหว่างนั้น ทำให้กราฟมีลักษณะคล้ายตัว “W”


รูปแบบนี้ถือเป็นสัญญาณการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น (Bullish Reversal Pattern) โดยแสดงให้เห็นว่าแรงขายอ่อนกำลังลง และตลาดอาจกลับทิศทางขึ้น หากราคาทะลุผ่านแนวต้านที่อยู่ระหว่าง “ก้น” ทั้งสองได้สำเร็จ


แต่ก่อนจะตัดสินใจเข้าเทรด เทรดเดอร์ควรยืนยันว่าแนวต้านนั้นมีความสำคัญจริง เช่น โดยการย้อนดูประวัติราคาหรือใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคเสริม เพื่อให้การตัดสินใจแม่นยำยิ่งขึ้น


8. Head and Shoulders (รูปแบบหัวและไหล่)

Head and Shoulders.png

Head and Shoulders เป็นหนึ่งในรูปแบบกราฟกลับตัวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมักเป็นสัญญาณว่าตลาดอาจเปลี่ยนจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นขาลง


รูปแบบนี้มีลักษณะคล้ายหัวและไหล่ โดยจุดยอดตรงกลาง (Head) จะสูงที่สุด และมีจุดยอดอีกสองข้างที่ต่ำกว่าและอยู่ระดับใกล้กัน (Shoulders)


ถ้าราคาร่วงลงต่ำกว่าแนวรับที่ลากเชื่อมระหว่างไหล่ทั้งสอง (เรียกว่า Neckline) ถือเป็นสัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้นอาจสิ้นสุดลง และตลาดกำลังเข้าสู่ช่วงขาลง


9. Ascending/Descending Staircase

รูปแบบ Ascending และ Descending Staircase ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบพื้นฐานของกราฟราคา ถึงแม้จะดูเรียบง่ายแต่ก็มีความสำคัญมากสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม


ในตลาดจริง ราคามักจะไม่เคลื่อนไหวเป็นเส้นตรง แม้ในแนวโน้มที่ชัดเจนก็ยังมีการย่อตัวหรือดีดกลับเป็นระยะ


  • Ascending Staircase คือแนวโน้มขาขึ้นที่ราคาทำ “จุดสูงสุด” ใหม่อยู่เรื่อย ๆ และ “จุดต่ำสุด” ก็ยกตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน เทรดเดอร์มักมองว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการ “เปิดสถานะซื้อ” โดยเฉพาะเมื่อราคาย่อลงในระยะสั้น เพราะเป็นโอกาสซื้อในราคาที่ต่ำกว่าทิศทางหลัก

  • Descending Staircase คือแนวโน้มขาลงที่ราคาทำ “จุดต่ำสุด” ใหม่ลงเรื่อย ๆ และ “จุดสูงสุด” ก็ลดต่ำลงตาม เทรดเดอร์จะมองหาจังหวะ “เปิดสถานะขาย” โดยใช้การดีดกลับในช่วงสั้น ๆ เป็นโอกาสในการเข้าขาย


10. Triple Top และ Triple Bottom

Triple Top และ Triple Bottom - อีบีซี

รูปแบบนี้คล้ายกับ Double Top และ Double Bottom แต่มีจุดยอดหรือจุดต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 3 ครั้ง


  • Triple Top คือการที่ราคาขึ้นไปแตะระดับสูงสุดใกล้เคียงกันสามครั้ง แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านได้ ถือเป็นสัญญาณกลับตัวเป็นขาลง (Bearish Reversal) ซึ่งบ่งชี้ว่าราคามีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงหลังจากยอดที่สาม

  • Triple Bottom เป็นลักษณะตรงกันข้าม โดยราคาลงมาทดสอบแนวรับสามครั้ง แต่ไม่สามารถทะลุลงไปได้ แสดงถึงแรงรับที่แข็งแกร่ง และอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น


เทรดเดอร์มักรอการยืนยันจากการ “Breakout” ก่อนตัดสินใจเข้าเทรด เช่น การทะลุแนวรับใน Triple Top หรือทะลุแนวต้านใน Triple Bottom


11. Cup and Handle (รูปแบบถ้วยและด้ามจับ)

Cup and Handle- EBC

รูปแบบ Cup and Handle เป็นรูปแบบต่อเนื่องของแนวโน้มขาขึ้น โดยมีลักษณะคล้ายถ้วยชา

  • ส่วน “Cup” เกิดจากการที่ราคาค่อย ๆ ปรับตัวลง แล้วฟื้นกลับขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดส่วนที่คล้าย"ถ้วย"

  • ส่วน “Handle” เป็นการพักตัวของราคาหลังจากนั้นเล็กน้อย ทำให้เกิดส่วนที่เหมือน "ด้ามจับ"


หากราคาทะลุแนวต้านที่ขอบของถ้วยไปได้ ถือเป็นสัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้นจะดำเนินต่อ เทรดเดอร์จำนวนมากมองว่านี่เป็นจังหวะที่ดีในการเข้า "ซื้อ"


12. Rectangle Pattern (รูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า)

รูปแบบ Rectangle คือช่วงที่ราคาขยับอยู่ในกรอบแนวนอน ระหว่างแนวรับกับแนวต้าน เป็นช่วงที่ตลาดยังไม่มีทิศทางชัดเจน

  • Bullish Rectangle คือราคาทะลุแนวต้านขึ้นไป สะท้อนว่าตลาดพร้อมไปต่อในขาขึ้น

  • Bearish Rectangle คือราคาหลุดแนวรับลงมา เป็นสัญญาณว่าขาลงจะดำเนินต่อไป


รูปแบบนี้สะท้อนถึงภาวะลังเลของตลาดก่อนจะมีการ“ Breakout” เทรดเดอร์จึงมักรอให้เกิดการยืนยันทิศทางก่อนเข้าเทรดเพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณหลอก


การวิเคราะห์รูปแบบกราฟ

การวิเคราะห์รูปแบบกราฟเป็นส่วนสำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีจุดประสงค์เพื่อสังเกตและตีความรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาบนกราฟ เพื่อช่วยคาดการณ์ทิศทางราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การเข้าใจรูปแบบเหล่านี้จะช่วยให้เทรดเดอร์เห็นภาพรวมของแนวโน้มตลาด รับรู้ถึงจังหวะการกลับตัวหรือการเคลื่อนไหวต่อเนื่องของราคา ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจซื้อขายได้อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบมากขึ้น


การวิเคราะห์ทางเทคนิคส่วนใหญ่พึ่งพารูปแบบกราฟ เพราะรูปแบบเหล่านี้สะท้อนพฤติกรรมและจิตวิทยาของผู้เล่นในตลาดผ่านภาพที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อรูปแบบบางอย่างเคยนำไปสู่ผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกันซ้ำ ๆ ในอดีต เราสามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการคาดการณ์พฤติกรรมของราคาในอนาคตได้ ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์รูปแบบกราฟจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนและเทรดเดอร์สามารถรับมือกับความซับซ้อนของตลาดการเงินได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ


การระบุรูปแบบกราฟ

การระบุรูปแบบกราฟนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งทักษะในการวิเคราะห์ทางเทคนิคและความเข้าใจในตลาด เทรดเดอร์ต้องสามารถจำรูปร่างต่าง ๆ ของกราฟได้ เช่น รูปแบบ Head and Shoulders, Double Top และ Triangles รวมถึงเข้าใจนัยสำคัญของรูปแบบเหล่านี้ต่อการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต โดยทั่วไปแล้ว การวิเคราะห์รูปแบบกราฟจะใช้เครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น เส้นแนวโน้ม แนวรับแนวต้าน และรูปแบบแท่งเทียน เพื่อยืนยันการเกิดของรูปแบบ


ตัวอย่างเช่น เส้นแนวโน้มจะช่วยกำหนดขอบเขตของรูปแบบ ส่วนแนวรับและแนวต้านสามารถบ่งชี้จุดที่อาจเกิดการทะลุราคา (breakout) ได้ ขณะที่รูปแบบแท่งเทียนสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจในความถูกต้องของรูปแบบที่พบ เมื่อฝึกฝนจนชำนาญ เทรดเดอร์จะสามารถมองเห็นรูปแบบได้ชัดเจนและตัดสินใจซื้อขายได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น


การเทรดด้วยรูปแบบกราฟ

การเทรดโดยใช้รูปแบบกราฟคือการนำรูปแบบที่เราระบุมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การซื้อขาย เทรดเดอร์สามารถใช้รูปแบบกราฟเพื่อหาจังหวะที่ราคาจะกลับตัว หรือหาจังหวะที่ราคาอาจจะเคลื่อนไหวต่อเนื่องไปในทิศทางเดิม หรือแม้กระทั่งหาจุดที่ราคาจะทะลุออกไปจากกรอบที่เคยมีอยู่ (breakout) โดยเมื่อนำรูปแบบกราฟไปใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ก็จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการเทรดและสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น


ตัวอย่างเช่น หากพบเห็นรูปแบบ Head and Shoulders เทรดเดอร์อาจเตรียมที่จะขายเมื่อราคาทะลุแนวรับ (neckline) ลงมา หรือถ้าเห็นรูปแบบ Bullish Flag ก็อาจเลือกซื้อเมื่อราคาทะลุขึ้นไป หัวใจสำคัญคือ การใช้รูปแบบกราฟควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ครอบคลุม ไม่ควรพึ่งพาแค่เพียงอย่างเดียว


การบริหารความเสี่ยงด้วยรูปแบบกราฟ

การบริหารความเสี่ยงด้วยรูปแบบกราฟคือการใช้ข้อมูลที่เราได้จากการวิเคราะห์มาช่วยในการตั้งคำสั่งหยุดขาดทุน (Stop Loss) เพื่อจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น เมื่อเราสามารถระบุแนวรับและแนวต้านสำคัญในกราฟได้ เราก็สามารถตั้ง Stop Loss เพื่อปกป้องการลงทุนของเราเมื่อราคาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง


ตัวอย่างเช่น หากเทรดเดอร์พบรูปแบบ Descending Triangle ก็อาจตั้ง Stop Loss ไว้เหนือแนวต้านเล็กน้อย เพื่อป้องกันการขาดทุนกรณีที่ตลาดกลับตัวขึ้น เมื่อสามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยรักษาเงินทุนและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว


คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

แพลเลเดียมคืออะไร และแตกต่างจากทองคำอย่างไร?

แพลเลเดียมคืออะไร และแตกต่างจากทองคำอย่างไร?

ค้นพบว่าแพลเลเดียมคืออะไร มีการใช้งานอย่างไร และเปรียบเทียบกับทองคำในแง่ของมูลค่า ความหายาก และศักยภาพในการลงทุนในปี 2568 ได้อย่างไร

2025-04-24
OpenAI มีอยู่ในตลาดหุ้นหรือไม่? การเข้าถึงและทางเลือก

OpenAI มีอยู่ในตลาดหุ้นหรือไม่? การเข้าถึงและทางเลือก

OpenAI จะอยู่ในตลาดหุ้นในปี 2025 หรือไม่ เรียนรู้วิธีการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับ AI โอกาสในการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรกของ OpenAI และทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับนักลงทุนที่สนใจ

2025-04-24
5 ข้อผิดพลาดสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อใช้รูปแบบ ABCD

5 ข้อผิดพลาดสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อใช้รูปแบบ ABCD

รูปแบบ ABCD เป็นเครื่องมือการซื้อขายที่ได้รับความนิยม แต่การหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด เช่น การตีความประเด็นสำคัญผิดและการซื้อขายมากเกินไปถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการซื้อขายที่ประสบความสำเร็จ

2025-04-24