การจัดการความเสี่ยงใน Forex เริ่มต้นจากสร้างนิสัยการเทรดที่ถูกต้อง นอกจากจะป้องกันความเสี่ยงจากการขาดทุนแล้ว และยังเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในโลกการเทรด
หากเราอยากจะประสบความสำเร็จในด้านการเทรด Forex สิ่งแรกที่เทรดเดอร์ควรให้ความสำคัญนั้นคือ ความเสี่ยง
ความเสี่ยงเปรียบเสมือนศัตรูที่กำหนดการทำกำไรในตลาดฟอเร็กซ์ หากเรามีนิสัยการเทรดที่ดีและจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ได้ การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดนี้อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ วันนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักลงทุน
การจัดการความเสี่ยงคืออะไร?
การจัดการความเสี่ยง หรือว่า Risk Management เป็นกระบวนการที่องค์กรใช้ในการระบุความเสี่ยง ประเมินผลกระทบ และควบคุมความเสียหายที่อาจส่งผลต่อเงินทุน ผลกำไร และการดำเนินงานขององค์กร ความเสี่ยงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความไม่แน่นอนทางการเงิน กระทำความผิดทางกฎหมาย ปัญหาด้านเทคโนโลยี การจัดการที่ผิดพลาด อุบัติเหตุ และภัยธรรมชาติที่เหนือความคาดหมาย
Risk Management หากย่อให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคต
ทำไมการจัดการความเสี่ยงจึงสำคัญ?
องค์กรที่มีการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้รอบด้าน และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังลดผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อองค์กร ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน
ความเสี่ยงใน Forex มีอะไรบ้าง?
1. ความเสี่ยงจากตลาด (Market Risk)
ความเสี่ยงในตลาด Forex เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น การประกาศข่าวเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลาง หรือสถานการณ์ทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อค่าเงิน การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ไม่สามารถคาดเดาได้ อาจทำให้การลงทุนมีความเสี่ยง โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมาก ดังนั้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว เทรดเดอร์ควรใช้คำสั่งหยุดขาดทุน (Stop-Loss) ซึ่งเป็นเครื่องมือซื้อขายพื้นฐานที่จะช่วยจำกัดการขาดทุน
2. ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
หากการซื้อขายฟอเร็กซ์ ณ ช่วงนั้นเกิดสภาพคล่องต่ำ นั้นทำให้เกิดความเสี่ยงที่เราจะได้ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด หรืออาจได้ราคาที่เราไม่ต้องการ ดังนั้น เทรดเดอร์ควรเลือกลึงทุนในตลาดที่มีสภาพคล่องสูง หรือเทรดในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม และยังจะเป็นต้องกำหนดราคาเข้าซื้อ (Limit Orders) เพื่อให้ได้ราคาที่ต้องการ
3. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk)
อัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อการลงทุนใน Forex โดยตรง เนื่องจากความผันผวนของ Currency ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย สภาวะเศรษฐกิจและการเมือง อาจส่งผลต่อการทำกำไรของเทรดเดอร์ การคาดการณ์ถึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
4. ความเสี่ยงจากการบริหารเงิน (Money Management Risk)
ความเสี่ยงของการจัดการเงินลงทุน อาจเกิดจากความไม่เข้าใจของเทรดเดอร์ ในด้านการใช้เครื่องมือ หรือคำสั่งต่างๆ เช่น การใช้เลเวอเรจ (Leverage), การตั้ง Stop Loss หรือ Take Profit เป็นต้น หากเทรดเดอร์ยังไม่เข้าใจความรู้พื้นฐาน Forex ก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จในตลาดที่มีความผันผวนสูง
5. ความเสี่ยงจากหน่วยงานกำกับดูแล (Regulatory Risk)
ความเสี่ยงนี้เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเทรดฟอเร็กซ์ เทรดเดอร์ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และรักษาความถูกต้องของเอกสาร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
หากคุณรู้ถึงความเสี่ยงหลักๆ ในตลาด Forex แล้ว ที่นี้เราไปดูวิธีจัดการความเสี่ยงกัน
วิธีจัดการความเสี่ยงในตลาด Forex
1. ตรวจสอบคำสั่งซื้อขายอย่างละเอียด
ถึงแม้ว่าการเทรด Forex ออนไลน์จะช่วยให้การดำเนินธุรกรรมสะดวกและรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ก็เต็มไปด้วยความเสี่ยง เช่น การเปิดออเดอร์ผิดพลาด หากเปิดคำสั่งซื้อขายผิดเพียงครั้งเดียว อาจสร้างความเสียหายมหาศาล ไม่ว่าแผนการเทรดฟอเร็กซ์จะดีแค่ไหน ถ้าการส่งคำสั่งซื้อขายผิดพลาดนั้นแสดงว่าคุณล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นในทุกขั้นตอนการซื้อขายจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ "นิ้วเบียด (Fat Finger)" ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน
ในปี 2010 ตลาดการเงินประสบกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า "Fat Finger" ซึ่งเกิดจากการป้อนคำสั่งซื้อขายผิดพลาดโดยเทรดเดอร์รายหนึ่งป้อนตัวเลขศูนย์เกินไป ทำให้เกิดการขายมูลค่า 1.6 หมื่นดอลลาร์ แทนที่จะเป็น 16 ล้านดอลลาร์ ความผิดพลาดนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ในวันเดียว ส่งผลให้ทั้งบริษัทและผู้ถือหุ้นสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล
เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ กระบวนการจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ซึ่งควรครอบคลุมถึงการวางแผน การระบุความเสี่ยง การกำหนดแนวทางความเสี่ยง และติดตามความเสี่ยง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น คุณสามารถสร้างนิสัยการเทรดที่ดีง่ายๆ เพียงแค่ตรวจสอบคำสั่งซื้อขายซ้ำๆ ก่อนส่งคำสั่งซื้อ
2. วางแผนการเทรดอยู่เสมอ
การเทรด Forex ให้ประสบความสำเร็จเริ่มต้นจากการวางแผนอย่างรอบคอบ คุณอาจสงสัยว่า เทรดเดอร์ทุกคนมีแผนการหมดเลยหรือไม่? คำตอบคือไม่ เพราะยังมีเทรดเดอร์จำนวนไม่น้อยที่เทรดโดยใช้อารมณ์มากกว่าหลักการเทรด
ทำไมการวางแผนเทรดจึงสำคัญ?
การตัดสินใจซื้อขายที่ไม่มีแบบแผนจะนำไปสู่ความผิดพลาด เมื่อเผชิญกับความผันผวนของตลาด คุณควรกำหนดจุด SL และจุด TP เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคา การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพช่วยให้การซื้อขายเป็นระบบและเพิ่มโอกาสในการทำกำไร
นอกจากนี้ กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่องค์กรใช้จัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่:
การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance): หมายถึง การยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โดยไม่ดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม ซึ่งมักใช้ในกรณีที่ต้นทุนในการลดความเสี่ยงนั้นสูงกว่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การโอนย้ายความเสี่ยง (Risk Transference): การถ่ายโอนความเสี่ยงไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่น เช่น การทำประกันภัย ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถลดภาระทางการเงินจากความเสี่ยงและย้ายความเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัย
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance): การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยการไม่ทำกิจกรรมหรือการดำเนินการที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป ตัวอย่างเช่น องค์กรอาจเลือกที่จะไม่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่มีความมั่นคง
การลดความเสี่ยงและการป้องกันการสูญเสีย (Risk Reduction and Loss Prevention): การดำเนินการป้องกันหรือจำกัดความเสี่ยง โดยการติดตั้งมาตรการด้านความปลอดภัย เช่น การตรวจสอบและซ่อมบำรุงอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ หรือการสร้างแผนการรับมือกับภัยพิบัติในองค์กร
การแบ่งปันความเสี่ยง (Risk Sharing): การแบ่งปันความเสี่ยงไปยังหลายฝ่ายภายในองค์กรหรือพันธมิตร การแบ่งปันความเสี่ยงจะช่วยลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในองค์กร โดยการกระจายความเสี่ยงออกไปให้หลายฝ่ายทำให้การจัดการความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างแผนการบริหารความเสี่ยงที่ครบวงจร ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการความไม่แน่นอนในตลาดและปกป้องทรัพย์สินจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. กำหนดจุด Take Profit อย่างเหมาะสม
การ Take Profit บางส่วนเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์หลายคนมองข้าม เพราะเป็นการตัดสินใจที่ยาก เนื่องจากราคาและแนวโน้มยังไปในทิศทางที่คุณต้องการ แต่การที่เราเลือก TP ออกมาบางส่วนอาจช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนในตลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
"The trend is your friend until it ends แนวโน้มคือเพื่อนของคุณจนกว่ามันจะสิ้นสุด" ประโยคนี้ยังเป็นประโยคเบสิกที่เตือนสติใครหลายๆ คนให้ระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
ดังนั้น การรับรู้ถึงความเสี่ยงในการเทรด Forex จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันสามารถส่งผลกระทบต่อผลกำไรของคุณ การนำกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงเข้ามาใช้ในการเทรดจึงเป็นเรื่องสำคัญ
หนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้คือ SAT (Stop, add, Take profit) คือการตั้งจุด SL ให้เหมาะสม, เพิ่มตำแหน่งเมื่อแนวโน้มเป็นไปตามแผน และตั้งจุด TP ตามที่เราต้องการ ในกรณีที่ราคามีการกลับตัวอย่างรวดเร็ว หลังจากที่คุณถือครองหรือเพิ่มตำแหน่งก็ตาม การปรับจุดหยุดขาดทุนเพื่อให้คุณไม่ขาดทุนมากเกินไป หรือออกจากตำแหน่งก่อนที่จะเกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ อาจจะช่วยให้คุณได้กำไรเล็กน้อยหรือขาดทุนไม่มาก
การจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว แต่ยังช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการขาดทุนจากความผันผวนที่ไม่สามารถควบคุมได้ในตลาดฟอเร็กซ์
4. หาเวลาพักผ่อน
การยึดตามแผนการเทรดเป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า คุณอาจรู้มากกว่าที่คิดทั้งในด้านความรู้พื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค?
หากคำตอบของคุณคือ "ใช่" คุณอาจแค่ต้องการเวลาพักผ่อนจากการเทรด
การพักผ่อนและหันหลังให้กับตลาด Forex จะช่วยให้คุณไม่หมกมุ่นและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณรีเซ็ตตัวเอง, มองภาพรวมของตลาดได้ชัดเจน และเห็นรูปแบบกราฟจากมุมมองใหม่ ๆ บางครั้งการหยุดพักสักระยะนึง อาจช่วยให้คุณตระหนักถึงข้อผิดพลาดจากการเทรดที่ผ่านมาได้
5. ถอนเงินจากบัญชีเทรด
การฝากเงินเข้าไปในบัญชีจำนวนมาก อาจทำให้คุณมีความมั่นใจจนทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่น การเพิ่มขนาดตำแหน่งหรือการเทรดที่มากเกินไป (Over Trade) การจำกัดความเสี่ยงที่ดีที่สุด คือถอนเงินบางส่วนออกมา ยกเว้นในกรณีที่เป้าหมายการเทรดของคุณต้องการขยายขนาดตำแหน่งหรือเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรม นอกจากนี้ หากคุณเป็นเทรดเดอร์ที่ทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งควรให้ความสำคัญกับกระบวนการการเทรดและการจัดการความเสี่ยง มากกว่าการมุ่งเน้นทำกำไรเพียงอย่างเดียว
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาในบทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน หรือเป็นการเสนอหรือเชิญชวนหรือแนะนำผลิตภัณฑ์การลงทุนใด ๆ