การเทรดค่าเงินเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คาดการณ์ได้ ควรศึกษาความผันผวนในการเทรดค่าเงิน และศึกษาตัวชี้วัดที่จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์การลงทุนได้อย่างแม่นยำ
การเทรดค่าเงินเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ได้รับความนิยม โดยจะนำการเปลี่ยนแปลงค่าเงินของแต่ละสกุลมาใช้ในการเทรดเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของค่าเงินที่ขึ้นลง ซึ่งให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องระมัดระวังเช่นกัน เราจึงควรศึกษาเกี่ยวกับการเทรดค่าเงินให้ถี่ถ้วนเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และช่วยให้สามารถสร้างผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ได้
ยิ่งค่าตอบแทนสูงขึ้นความเสี่ยงก็สูงขึ้นเช่นกัน สิ่งที่ต้องรู้อีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือ ความผันผวนที่ยากจะควบคุมและคาดการณ์ได้ ดังนั้นเราจึงควรศึกษาเรื่องนี้ให้ละเอียดเพื่อหาทางป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
1. ความผันผวนเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบสถิติ ค่าเงินเฉลี่ย และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะสามารถนำมาอ้างอิง และใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ความผันผวนที่จะเกิดขึ้นได้ โดยการวิเคราะห์ในรูปแบบนี้จะมีความแม่นยำค่อนข้างสูง ช่วยลดโอกาสในการคาดการณ์เทรดที่ไม่ถูกต้องลงได้
2. ความผันผวนเชิงคุณภาพ เป็นหลักการในการวิเคราะห์ที่ต้องใช้ประสบการณ์ในการคาดการณ์แนวโน้มของค่าเงิน โดยจะวิเคราะห์จากข้อมูลที่ไม่สามารถวัดปริมาณได้ เช่น เสถียรภาพของประเทศ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน สามารถหาข้อมูลดังกล่าวได้จากข่าวสารต่าง ๆ หรือบทสัมภาษณ์ของผู้นำประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงิน ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์ได้ยากกว่าความผันผวนเชิงปริมาณ
การจะเทรดค่าเงินนั้นจำเป็นที่จะต้องหาตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในการเลือกเทรดสกุลเงินที่เหมาะสม โดยตัวชี้วัดที่สำคัญในการเทรดค่าเงินนั้น ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product : GDP) จะสามารถบ่งบอกการเจริญเติบโตของประเทศนั้น ๆ ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง หากเศรษฐกิจในประเทศมีการเจริญเติบโต ผลิตภัณฑ์มวลรวมก็จะมีค่าสูงขึ้น เพราะความต้องการในการใช้เงินสกุลนั้นมีมากขึ้น GDP จึงสามารถเป็นตัวชี้วัดค่าเงินในประเทศนั้น ๆ ได้
2. อัตราการเงินเฟ้อ (Inflation Rate) จะส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศนั้น ๆ สูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของสกุลเงินนั้นมีในปริมาณที่น้อยลง ค่าเงินก็ลดลงตาม ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อจึงเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อขายสกุลเงิน
3. อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) หากประเทศมีการกู้ยืมต้นทุนที่สูง อัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้นตาม จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าการลงทุนนั้นมีมูลค่าที่สูง กำไรก็จะสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงส่งผลให้ค่าเงินสูงขึ้น ซึ่งเป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่มีความแม่นยำ สามารถติดตามได้จากข่าวสารเศรษฐกิจภายในประเทศ
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) ตัวชี้วัดที่ช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะแสดงราคาสินค้าในอดีตและปัจจุบัน จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ว่าสินค้าและบริการมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นหรือต่ำลง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจของประเทศ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ช่วงเวลาใดควรที่จะลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากที่สุด
5. อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดที่จะสะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ หากอัตราการว่างงานต่ำจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า มีการลงทุนของเศรษฐกิจภายในประเทศทำให้มีการเจริญเติบโตภายในทางบวก อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่ามีการลงทุนจากต่างประเทศ ที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้อย่างดี แต่หากอัตราการว่างงานสูง ก็จะแสดงให้เห็นว่าการจับจ่ายใช้สอยในประเทศลดลง เนื่องจากประชาชนไม่มีรายได้ จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งอัตราการว่างานนี้ก็จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าควรลงทุนในสกุลเงินของประเทศนี้หรือไม่
การเทรดค่าเงินจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลและข้อควรระวังต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วน เพราะปัจจัยในการผันผวนและเปลี่ยนแปลงของค่าเงินนั้นมีค่อนข้างสูง มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งหลายสถานการณ์ก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ดังนั้นการติดตามข่าวสารอยู่เสมอ จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์สถานการณ์และเลือกลงทุนได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ ที่สำคัญควรรู้ถึงเป้าหมายในการเทรดค่าเงินและเลือกวิธีการเทรดให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต ก็จะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงในการขาดทุนลงได้