CFDs คืออะไร เทรนด์ลงทุนใหม่ ให้ผลตอบแทนสูง พร้อมกลยุทธ์ลงทุน

2024-02-07
สรุป

CFDs คืออะไร? โดยสรุปแล้วก็คือการลงทุนในตลาดการเงินผ่านสัญญาซื้อขายส่วนต่าง ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีโอกาสในการทำกําไรสูงด้วยสัดส่วนการลงทุนที่น้อยกว่า

การลงทุนในตลาดการเงินเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ และต้องบอกว่าเป็นตลาดที่นักลงทุนมีโอกาสในการทำกำไรสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาด้วย นักลงทุนที่ต้องการลองสิ่งใหม่ ๆ และสนใจในการเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุนแนวทางใหม่ อาจสนใจในการเทรด CFDs หรือสัญญาซื้อขายส่วนต่าง ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้นักลงทุนได้กำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์อ้างอิง โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริง ๆ

และในบทความนี้ เราจะมาอธิบายถึงความหมายและการทำงานของ CFDs ประโยชน์และเรื่องราวที่น่าสนใจการลงทุนเทรด CFDs ซึ่งจะทำให้คุณได้รู้ว่า นี่คือทางเลือกที่น่าสนใจมากขนาดไหน

 

CFDs คืออะไร และมีกลไกการทำงานอย่างไร?

CFDs ย่อมาจาก Contract for Difference ซึ่งแปลเป็นไทยว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง เป็นตราสารอนุพันธ์รูปแบบหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรจากส่วนต่างจากการเทรด CFDs ด้วยราคาเปิดและราคาปิดของสินทรัพย์อ้างอิง เช่น หุ้น ดัชนี สกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งคริปโตเคอร์เรนซี เมื่อเทรด CFDs นักลงทุนไม่จำเป็นต้องครอบครองสินทรัพย์อ้างอิงนั้นจริง ๆ แต่เป็นสัญญาที่ทำการซื้อขายได้ทันที เพียงส่งคำสั่งซื้อขาย และเสนอความได้เปรียบด้านอัตราทด (Leverage) ทำให้นักลงทุนสามารถวางเงินเพียงจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับการซื้อขายสินค้านั้นจริงด้วยเงินเต็มจำนวน

 

ประโยชน์และความเสี่ยงของการเทรด CFDs

การเทรด CFDs มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความสามารถในการเทรด CFDs ที่เทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งนักลงทุนสามารถทำกำไรได้ไม่ว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าคาดว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงจะขึ้น ก็สามารถเปิดสถานะซื้อ (Long Position) และหากคาดว่าราคาจะลงก็เปลี่ยนเป็นการเปิดสถานะขาย (Short Position) โดยตัวกำไรขาดทุนของนักลงทุนจะขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิดของสินทรัพย์อ้างอิงนั่นเอง

และข้อดีอีกอย่างของหุ้น CFDs คือ การสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายประเภท ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์และเครื่องมือต่าง ๆ ในตลาดการเงินได้หลาย 100 รายการจากพอร์ตลงทุนเพียงพอร์ตเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงทุนในหุ้น ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ เหรียญสกุลเงินดิจิทัล หรือค่าเงิน ถนัดตัวไหน หรืออะไรกำลังมาแรง ก็ลงทุนได้เลย ไม่ต้องย้ายพอร์ตหรือย้ายโบรกเกอร์

ส่วนเรื่องของความเสี่ยงในการเทรด CFDs หลัก ๆ ก็จะมีเรื่องของความเสี่ยงจากการใช้เลเวอเรจ ที่แม้ว่าการใช้เลเวอเรจอาจเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจากเงินลงทุนที่น้อยให้กับเราได้ แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงในการขาดทุนได้เช่นกัน หากเทรดเดอร์เข้าสู่ตลาดโดยมีเงินลงทุนต่ำเกินไปและใช้เลเวอเรจมากเกินไป จะทำให้แม้การเปลี่ยนแปลงราคาเพียงเล็กน้อย ก็มากพอที่จะทำให้เงินลงทุนทั้งหมดขอนักลงทุนหายวับไปได้ในทันที เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ต้องระวังให้มากหน่อย

 

วิธีการเทรดในตลาด CFDs

วิธีการเทรดในตลาดนี้มีไม่กี่ขั้นตอน ถ้าไม่นับรวมขั้นตอนการเปิดพอร์ตลงทุนกับโบรกเกอร์ สิ่งที่คุณต้องทำก็มีแค่การเลือกสินทรัพย์ที่จะเทรด วิเคราะห์แนวโน้ม จากนั้นก็เลือกวางคำสั่งได้เลย


ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเทรด CFDs ของหุ้น CFDs คือ Apple ที่มีราคา 100 ดอลลาร์ต่อหุ้น โดยใช้เลเวอเรจที่อัตรา 10:1 หมายความว่าคุณจะต้องมีเงินมัดจำ 10% ของมูลค่าสัญญา ถ้าเลือกซื้อ 100 หุ้น ด้วยการลงทุนในรูปแบบ CFDs คุณก็จะต้องมีเงินมัดจำ 1,000 ดอลลาร์ (10% x 100 ดอลลาร์ x 100 หุ้น) แต่จะได้รับผลตอบแทนเหมือนกับการซื้อ 100 หุ้น Apple ด้วยเงิน 10,000 ดอลลาร์ และถ้าราคาหุ้น Apple เพิ่มขึ้นเป็น 110 ดอลลาร์ต่อหุ้น คุณก็จะได้กำไร 1,000 ดอลลาร์ (110 ดอลลาร์ - 100 ดอลลาร์ x 100 หุ้น) ซึ่งเท่ากับอัตราผลตอบแทน 100% ของเงินมัดจำเลยทีเดียว

 

การเทรด CFDs


กลยุทธ์การเทรด CFDs

การเทรด CFDs ให้ประสบความสำเร็จ อันดับแรกต้องทำความเข้าใจและรู้จักว่า CFDs คืออะไร และเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตนเอง โดยจะมีกลยุทธ์หลายรูปแบบที่นักลงทุนสามารถใช้ได้ และตัวอย่างต่อไปนี้ก็คือกลยุทธ์ CFDs ที่นักลงทุนนิยมใช้กันมาก

1. สวิงเทรด (Swing Trading) เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการเทรดตามแนวโน้มของราคาในช่วงเวลากลาง (เช่น วัน สัปดาห์ หรือเดือน) โดยใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและพื้นฐาน เพื่อหารูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา และจุดที่เหมาะสมในการเปิดและปิดตำแหน่ง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเวลาจำกัด และไม่ต้องการเสี่ยงกับความผันผวนที่สูง

2. เดย์เทรด (Day Trading) เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการเทรดในช่วงเวลาสั้น ๆ ภายในวันเดียว โดยไม่เก็บตำแหน่งไว้ข้ามคืน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาที่ไม่คาดคิด เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเวลาและทุนมาก และชอบความความท้าทายพอประมาณ

3. สแกลปเทรด (Scalp Trading) เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการเทรดระยะสั้น ระดับนาที หรือวินาที เพื่อเก็งกำไรจากความผันผวนของราคา โดยใช้เลเวอเรจสูง และเปิดปิดตำแหน่งบ่อย ๆ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ยากสักหน่อย จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ และมีความเข้าใจในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นอย่างดีแล้ว

 

หุ้น CFDs คือการลงทุนที่เหมาะกับนักลงทุนประเภทไหน

ถ้าถามว่าการเทรด CFDs เหมาะกับนักลงทุนประเภทไหน คำตอบนั้นก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะ รูปแบบการเทรด และเป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนแต่ละคน ซึ่งหลัก ๆ แล้วก็จะต้องเป็นนักลงทุนที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง เพราะการลงทุนใน CFDs นักลงทุนจะสามารถเลือกเทรดสินทรัพย์อ้างอิงหลากหลายประเภท ไม่จำกัดเฉพาะหุ้น ดัชนี หรือสกุลเงิน นอกจากนี้ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงจริง ๆ ทำให้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและสามารถเทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

หรือถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่ต้องการใช้เลเวอเรจเพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไรจากตลาด CFDs ก็เหมาะ เพราะ CFDs นักลงทุนสามารถเลือกใช้เลเวอเรจทางการเงินในระดับที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเทรดแบบปกติ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถใช้เงินลงทุนเริ่มต้นที่น้อยกว่าได้เพื่อเปิดสถานะซื้อขายในตลาด


เพราะความสำเร็จในการลงทุนผ่านการเทรดขึ้นอยู่กับว่า เรารู้ว่า CFDs คืออะไร ความเข้าใจถึงหลักการทำงาน และการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมมากน้อยแค่ไหน จากข้อมูลทั้งหมดนี้เราก็พอจะเห็นแนวทางการลงทุนในแบบที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ ก็สามารถที่จะทำกำไรจากการลงทุนได้ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการลงทุนรูปแบบใหม่ กำไรงาม เราก็อยากให้ลองมาสัมผัสการลงทุนในตลาด CFDs ดู


ความหมายและนัยของช่องว่างกรรไกร M1 M2

ความหมายและนัยของช่องว่างกรรไกร M1 M2

ช่องว่างกรรไกร M1 M2 วัดความแตกต่างในอัตราการเติบโตระหว่างอุปทานเงิน M1 และ M2 โดยเน้นย้ำถึงความแตกต่างในสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ

2024-12-20
วิธีการซื้อขาย Dinapoli และการประยุกต์ใช้

วิธีการซื้อขาย Dinapoli และการประยุกต์ใช้

วิธีการซื้อขาย Dinapoli เป็นกลยุทธ์ที่รวมตัวบ่งชี้ชั้นนำและตามหลังเพื่อระบุแนวโน้มและระดับสำคัญ

2024-12-19
พื้นฐานและรูปแบบของสมมติฐานทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

พื้นฐานและรูปแบบของสมมติฐานทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

สมมติฐานตลาดที่มีประสิทธิภาพระบุว่าตลาดการเงินจะรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในราคาสินทรัพย์ ดังนั้นการทำผลงานดีกว่าตลาดจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น

2024-12-19