ทำความรู้จักสินทรัพย์โภคภัณฑ์ ก่อนตัดสินใจลงทุน

2023-10-31
สรุป

สินทรัพย์โภคภัณฑ์คือวัตถุดิบที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถทดแทนกันได้ทั่วโลก เช่น น้ำตาลทรายที่ผลิตในที่ต่าง ๆ มีลักษณะที่เหมือนกัน

สินทรัพย์โภคภัณฑ์มักจะเป็นตัวเลือกแรก ๆ สำหรับการกระจายความเสี่ยง แต่ไม่ได้หมายความว่าสินทรัพย์โภคภัณฑ์จะมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบ หรือทองคำ ล้วนมีความเสี่ยงสูงเหมือน ๆ กับสินทรัพย์อื่น ๆ ดังนั้นใครที่กำลังคิดว่าจะกระจายความเสี่ยงไปสู่สินทรัพย์โภคภัณฑ์ เพราะมีความเสี่ยงต่ำนั้นถือเป็นการเข้าใจผิด เรากระจายความเสี่ยงไปในหลากหลายสินทรัพย์ เพื่อป้องกันไม่ให้พอร์ตการลงทุนได้รับผลกระทบในกรณีที่สินทรัพย์ใดเกิดความผันผวนอย่างรุนแรง และถ้าคุณยังไม่เคยศึกษาเรื่องของสินทรัพย์โภคภัณฑ์มาก่อนหรือไม่เคยรู้จักมาก่อนนั้น คุณสามารถเริ่มทำความเข้าใจได้ตั้งแต่วันนี้

สินทรัพย์โภคภัณฑ์

สินทรัพย์โภคภัณฑ์คืออะไร?

สินทรัพย์โภคภัณฑ์ (Commodity) คือ วัตถุดิบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ จะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถใช้แทนกันได้ทั่วโลก และจับต้องได้ เช่น น้ำตาลทรายที่ผลิตในประเทศไทย จะมีลักษณะเหมือนกันกับน้ำตาลทรายที่ผลิตขึ้นในทั่วทุกมุมโลก เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้จะเรียกว่า สามารถทดแทนกันได้ (Fungibility) อย่างสมบูรณ์แบบ


เช่นเดียวกับสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยจะกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ได้ก็ต้องมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมา คือ มีมาตรฐานและลักษณะเหมือนกับสินค้าเกษตรทั่วโลก สามารถแลกเปลี่ยนและทดแทนกันได้ และเมื่อมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันจึงเกิดเป็นการกำหนดราคากลางเพื่อความเป็นธรรมในการซื้อขาย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีการค้าขายระหว่างประเทศ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จึงมีกลุ่มนักลงทุนที่ให้ความสนใจเข้ามาสร้างผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาซื้อขาย ที่มีราคากลางเป็นตัวกำหนด หรือที่เรียกว่า "การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์" ดังนั้นก่อนจะเริ่มต้นการเทรด นักลงทุนจะต้องรู้ก่อนว่าสินค้าโภคภัณฑ์มีกี่ประเภทและประกอบไปด้วยอะไรบ้าง


สินทรัพย์โภคภัณฑ์แบ่งเป็นกี่ประเภท

ในหัวข้อที่ผ่านมาเราได้กล่าวยกตัวอย่างสินค้าเกษตรอย่างน้ำตาลทรายขึ้นมา เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นภาพรวมแบบง่าย ๆ แต่ในข้อเท็จจริงก็คือก่อนจะเป็นน้ำตาลทราย จะต้องมีการทำไร่อ้อยมาก่อน ซึ่งอ้อยก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งสินค้าโภคภัณฑ์ที่ถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักนำไปสู่การผลิตน้ำตาลทราย ที่เป็นวัตถุดิบหลักด้วยเช่นกัน


ดังนั้นเมื่อต้องการเทรด นักลงทุนสามารถเลือกเทรดได้ทั้งสินค้าเกษตร อย่างอ้อย หรือวัตถุดิบอย่างน้ำตาล ซึ่งนักลงทุนมือใหม่อาจจะเกิดความสับสนในความซับซ้อน เราจึงทำการแบ่งประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ เพื่อให้ง่ายต่อกับจดจำ และง่ายต่อการทำความเข้าใจ


1. Soft Commodity

คือ สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกิดจากการควบคุมของมนุษย์ ได้มาจากการเพาะปลูกเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าเกษตร และเกิดจากการควบคุมดูแล เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากสัตว์ เช่น ข้าว, อ้อย, ถั่วเหลือง, กาแฟ, โกโก้, เนื้อสัตว์ และนม เป็นต้น


2.   Hard Commodity

คือ สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์เข้ามาควบคุม เช่น ทองคำ, น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ, แร่ และโลหะมีค่าอื่น ๆ เป็นต้น


อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า สินค้าโภคภัณฑ์ แบ่งออกเป็นวัตถุดิบที่เกิดจากการควบคุมของมนุษย์ กับวัตถุดิบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าผู้ผลิตจะเป็นใคร แหล่งกำเนิดวัตถุดิบมาจากไหน หากมีลักษณะและมาตรฐานที่เหมือนกันกับทั่วโลก และสามารถใช้ทดแทนหรือแลกเปลี่ยนกันได้ จะถือว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาตลาดโลกกำหนดเป็นราคากลางทั้งหมด นักลงทุนสามารถคาดหวังผลตอบแทนจากส่วนต่างการซื้อขายได้ ประการสำคัญคือเมื่อสินค้าโภคภัณฑ์เป็นตลาดขนาดใหญ่ระดับโลก ความเสี่ยงจึงไม่ได้อยู่ในระดับต่ำเหมือนที่นักลงทุนหลายคนคิด แต่เป็นสินค้าที่มีความผันผวน และมีความเสี่ยงกระจายไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักและปัจจัยแวดล้อมของสินค้าชนิดนั้น ๆ 


ความหมายและนัยของช่องว่างกรรไกร M1 M2

ความหมายและนัยของช่องว่างกรรไกร M1 M2

ช่องว่างกรรไกร M1 M2 วัดความแตกต่างในอัตราการเติบโตระหว่างอุปทานเงิน M1 และ M2 โดยเน้นย้ำถึงความแตกต่างในสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ

2024-12-20
วิธีการซื้อขาย Dinapoli และการประยุกต์ใช้

วิธีการซื้อขาย Dinapoli และการประยุกต์ใช้

วิธีการซื้อขาย Dinapoli เป็นกลยุทธ์ที่รวมตัวบ่งชี้ชั้นนำและตามหลังเพื่อระบุแนวโน้มและระดับสำคัญ

2024-12-19
พื้นฐานและรูปแบบของสมมติฐานทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

พื้นฐานและรูปแบบของสมมติฐานทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

สมมติฐานตลาดที่มีประสิทธิภาพระบุว่าตลาดการเงินจะรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในราคาสินทรัพย์ ดังนั้นการทำผลงานดีกว่าตลาดจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น

2024-12-19