ชวนนักลงทุนตั้งจุด Stop Loss เพื่อป้องกันการขาดทุนหนักในการเทรดค่าเงิน

2024-07-30
สรุป

จุด Stop Loss ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยทำหน้าที่ช่วยป้องกันการขาดทุนในระดับที่สูงจนถึงขั้นล้างพอร์ตลงทุนในช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับการคาดการณ์ของนักลงทุน

การเทรดค่าเงิน (Forex)เต็มไปด้วยโอกาสในการสร้างผลกำไรอย่างมหาศาล เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ทำให้นักลงทุนสามารถหาจังหวะทำกำไรในระยะสั้นได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตลาดนี้ยังมีความเสี่ยงสูงมากเช่นกัน จึงไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีการวางแผนการลงทุนที่ดี และเทรดไปตามอารมณ์โดยไม่ตั้งจุด Stop Loss จุด Stop Loss เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารความเสี่ยง และนักลงทุนทุกคนควรให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือนี้ เนื่องจากช่วยป้องกันการขาดทุนในระดับที่สูง จนถึงขั้นล้างพอร์ตหากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับการคาดการณ์ การตั้งจุด Stop Loss และการปฏิบัติตามอย่างมีวินัยยังสามารถช่วยลดความเครียดได้ อีกทั้งทำให้นักลงทุนมีโอกาสย้อนกลับไปวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ความหมายของจุด Stop Loss และเหตุผลที่ควรกำหนดจุด Stop Loss


Stop Loss คือ จุดหรือคำสั่งที่นักลงทุนตั้งไว้ในระบบการเทรดเพื่อปิดการซื้อขายโดยอัตโนมัติ เมื่อราคาสินทรัพย์ถึงระดับที่กำหนดไว้ หรือกำหนดเองเป็นจุดขาดทุนสะสม โดยเมื่อถึงระดับดังกล่าว นักลงทุนจะต้องหยุดการเทรดในทันที จุดประสงค์หลักของการใช้ Stop Loss คือการจำกัดการขาดทุนในกรณีที่ตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ซึ่งช่วยปกป้องเงินทุนของนักลงทุนและรักษาความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว


ประโยชน์ของการใช้Stop Loss


  1. จำกัดการขาดทุน จุด Stop Loss ช่วยให้นักลงทุนสามารถจำกัดการขาดทุนได้ในช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับแนวทางการลงทุน ซึ่งทำให้สามารถรักษาเงินทุนและลดความเสี่ยงในการขาดทุนอย่างหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  2. ลดความเครียด นักลงทุนไม่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามตลาดตลอดเวลา หากมีการกำหนดจุด Stop Loss ไว้ จะช่วยลดความกังวลและความเครียดในการตัดสินใจเมื่อราคาสินทรัพย์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป

  3. สร้างวินัยการเทรด ทำให้เราปฏิบัติตามแผนการเทรดที่วางไว้อย่างแน่วแน่ลดการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนโดยไม่จำเป็น

  4. ป้องกันการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ช่วยป้องกันการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้นทำให้สามารถรักษาผลกำไรในระยะยาวได้

  5. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพอร์ตการลงทุน ช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถควบคุมความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในระยะยาวได้


วิธีการตั้งจุดStop Loss


การตั้งจุด Stop Loss ควรพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ขนาดของเงินทุน และแนวโน้มของตลาด โดยทั่วไปแล้วมีวิธีการตั้งจุด Stop Loss ที่นิยมใช้ 5 วิธี ดังนี้

  1. Fixed Stop Loss การตั้งจุด Stop Loss ที่ระดับการขาดทุนคงที่ เช่น การตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ 5-10% ของเงินลงทุน

  2. Trailing Stop Loss การตั้งจุด Stop Loss ที่เคลื่อนที่ตามการเคลื่อนไหวของราคา เช่น การตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ 10% ของราคาสูงสุดที่เคยถึงในช่วงเวลาที่ผ่านมา

  3. Percentage Stop Loss การตั้งจุด Stop Loss ตามเปอร์เซ็นต์ของเงินทุน เช่น การตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ 2% ของเงินทุนคงเหลือที่มีในพอร์ต

  4. Volatility Stop Loss การตั้งจุด Stop Loss ตามความผันผวนของตลาด เช่น การใช้ค่าเฉลี่ยความผันผวนในการกำหนดระดับการขาดทุนที่ยอมรับได้

  5. Support and Resistance Stop Loss การตั้งจุด Stop Loss ที่ระดับแนวรับและแนวต้าน เช่น การตั้งจุด Stop Loss ใต้แนวรับหรือเหนือแนวต้าน

 

9.jpg

5 แนวทางตั้งจุด Stop Loss ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและเงินลงทุนของแต่ละบุคคล


การตั้งจุด Stop Loss ควรคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่ความเสี่ยงที่ยอมรับได้จนถึงจำนวนเงินลงทุน โดยนี่คือ 5 แนวทางที่นักลงทุนสามารถใช้ในการตั้งจุด Stop Loss ให้เหมาะสมกับสไตล์ตนเอง


    1.กำหนดระดับการขาดทุนที่ยอมรับได้

การตั้ง Stop Loss ควรพิจารณาจากระดับการขาดทุนที่คุณยอมรับได้ตามขนาดของเงินทุน เช่น หากคุณมีเงินลงทุน 100,000 บาท และยอมรับการขาดทุนได้ 5% คุณควรตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ระดับการขาดทุน 5,000 บาท วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงและป้องกันการขาดทุนที่อาจกระทบต่อเงินทุนทั้งหมดของคุณ โดยยังคงเหลือเงินทุนเพื่อมีโอกาสทำกำไรในอนาคต

    2.ใช้ความผันผวนของตลาดเป็นเกณฑ์

ในบางสถานการณ์การตั้ง Stop Loss ควรพิจารณาความผันผวนของตลาดร่วมด้วย หากตลาดมีความผันผวนสูง ควรตั้งจุด Stop Loss ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการหยุดการขาดทุนจากความผันผวนระยะสั้น เช่น ถ้าคุณเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูง เช่น ตลาดคริปโต คุณควรตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ระดับการขาดทุนที่สูงขึ้นกว่าปกติเช่นจากที่ตั้งไว้ 2% อาจจะขยับเป็น 5-10% เป็นต้น

    3.วิเคราะห์แนวรับและแนวต้าน

การวิเคราะห์แนวรับและแนวต้านช่วยให้นักลงทุนสามารถตั้งจุด Stop Loss ได้อย่างมีเหตุผล โดยตั้งจุด Stop Loss ที่แนวรับหรือเหนือแนวต้าน เพื่อป้องกันการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น ทุกครั้งที่ราคาขึ้นหรือลงมาแตะที่แนวรับหรือแนวต้านให้ทำการขายออกทันที

    4.ใช้เครื่องมือทางเทคนิค

การใช้เครื่องมือทางเทคนิคเช่นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) หรือดัชนีความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ (Relative Strength Index: RSI) จะช่วยในการตั้งจุด Stop Loss ที่เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันในการเทรด คุณสามารถตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ระดับต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพื่อป้องกันการขาดทุนได้เป็นต้น

    5.ปรับเปลี่ยนStop Lossตามการเคลื่อนไหวของตลาด

นักลงทุนควรพิจารณาปรับเปลี่ยนจุด Stop Loss ตามการเคลื่อนไหวของตลาด เช่น การยกจุด Stop Loss ขึ้นเมื่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวขึ้น การทำแบบนี้คือการ "Let Profits Run" หรือปล่อยให้ไหลทำกำไรสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณยอมรับการขาดทุนได้ที่5% และราคาสินทรัพย์ที่คุณเข้าเทรดกำลังไต่ระดับขึ้นไปที่ 150 บาทจากจุดซื้อ 100 บาทหากวิเคราะห์แล้วพบว่าเป็นช่วงขาขึ้นน่าจะยังขึ้นต่อไปได้อีก คุณสามารถยกจุด Stop Loss ขึ้นมาเป็น 142.50 บาทเพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไรที่สูงขึ้นได้


การตั้งจุด Stop Loss เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยป้องกันการขาดทุนอย่างรุนแรงในการเทรดค่าเงิน นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการตั้งจุด Stop Loss และต้องทำตามแผนนี้อย่างมีวินัย หากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรสามารถนำแนวทางทั้ง 5 นี้ไปปรับใช้กับการเทรดของคุณได้ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมว่าการเทรดที่สามารถสร้างกำไรได้มักเป็นการเทรดโที่ตัดสินใจโดยไม่ใช้อารมณ์


Bollinger Bands คืออะไร และจะเชี่ยวชาญมันได้อย่างไร?

Bollinger Bands คืออะไร และจะเชี่ยวชาญมันได้อย่างไร?

เรียนรู้วิธีใช้กลยุทธ์ Bollinger Band อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความสม่ำเสมอในการซื้อขายของคุณ ค้นหาเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์บางประการเพื่อยกระดับความสำเร็จในการซื้อขายของคุณ

2024-11-20
ทำความเข้าใจสกุลเงินของญี่ปุ่นและมูลค่าของมัน

ทำความเข้าใจสกุลเงินของญี่ปุ่นและมูลค่าของมัน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงินเยนของญี่ปุ่นและความสำคัญในตลาดโลก รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่า อ่านต่อไปเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสกุลเงินของญี่ปุ่น

2024-11-13
การซื้อขายออปชั่น: กลยุทธ์ ความเสี่ยง และประโยชน์ที่อธิบายไว้

การซื้อขายออปชั่น: กลยุทธ์ ความเสี่ยง และประโยชน์ที่อธิบายไว้

ทำความเข้าใจกลยุทธ์การซื้อขายตัวเลือกที่สำคัญ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เริ่มต้นจนถึงเคล็ดลับการจัดการความเสี่ยงในคู่มือปฏิบัตินี้สำหรับผู้ซื้อขายทุกระดับ

2024-11-12