ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตรามีต้นกำเนิดจากการค้าระหว่างประเทศในสมัยโบราณ การเปลี่ยนแปลงในปี 1970 ได้ปูทางไปสู่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ที่ไหนมีสกุลเงินที่นั่นย่อมมีตลาดการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ต้นกำเนิดของตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสามารถย้อนกลับไปได้ถึงกิจกรรมการค้าขายในสมัยโบราณ ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาของอารยธรรมมนุษย์ ผู้คนจากภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่จำเป็นและทรัพยากรต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรูปแบบของสกุลเงินในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกัน จึงนำไปสู่ปัญหาด้านอัตราแลกเปลี่ยนหรือการแลกเปลี่ยนเงินตรา เมื่อขนาดของการค้าเพิ่มขึ้นและเครือข่ายการค้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น
ประวัติศาสตร์ของตลาดการแลกเปลี่ยนสามารถย้อนกลับไปได้ถึงหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่ออียิปต์ได้สร้างเงินโลหะชุดแรกขึ้น ตามมุมมองในปัจจุบัน การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราเริ่มพัฒนาขึ้นในยุคกลาง ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการพาณิชย์ระหว่างประเทศและการพัฒนาการเดินเรือ นักแลกเปลี่ยนเงินของอิตาลีที่หาเงินจากการแลกเปลี่ยนสกุลเงินจากประเทศต่าง ๆ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มแรก ๆ ที่เริ่มต้นการแลกเปลี่ยนเงินตรา
ตามพัฒนาของควาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รูปแบบของตลาดก็เริ่มชัดเจนขึ้น ตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศก็เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ในช่วงปี 1970 เมื่อระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ระหว่างสกุลเงินต่าง ๆ ถูกยกเลิก ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจึงมีลักษณะที่ทันสมัยขึ้น
หลังจากที่ยกเลิกข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน รูปแบบทางธุรกิจใหม่ก็เกิดขึ้น โดยการทำกำไรในสภาวะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเสรี นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนยังได้รับผลกระทบจากสภาวะตลาดที่เป็นไปได้ทั้งหมด และถูกปรับโดยกลไกของอุปสงค์และอุปทานเท่านั้น
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราของรัสเซียเกิดขึ้นในปี 1990 พร้อมกับการพัฒนาความสัมพันธ์ของตลาดเสรี ธนาคารที่ทันสมัยที่สุดได้ตระหนักว่าสามารถทำกำไรได้มากมายจากตลาดนี้ ดังนั้นจึงได้เปิดแผนกการค้าเพื่อทำกิจกรรมเก็งกำไรในตลาดเงิน ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้จึงได้กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และไม่เพียงแค่ในธนาคารรัสเซียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบางธนาคารในประเทศตะวันตกด้วย ส่งผลให้จำนวนผู้ค้าในตลาดนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
ระยะเวลาที่สำคัญของการพัฒนาตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (ตามที่ระบุในสารานุกรมสมัยใหม่)
ในปี 1930 วิกฤตการณ์ทางการเงินโลก ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการค้าก็ได้รับผลกระทบ การปกครองของระบบทองคำถูกยกเลิกไปในที่สุด ในช่วงกลางปี 1930 ลอนดอนได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกและเงินปอนด์ของอังกฤษได้กลายเป็นสกุลเงินหลักในการซื้อขายแลกเปลี่ยนและสร้างทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ในขณะนั้นมีคำศัพท์ที่ใช้เรียกปอนด์อังกฤษว่า "เคเบิล (cable)" เนื่องจากวิธีการติดต่อสื่อสารในการทำธุรกรรมในขณะนั้นคือการส่งโทรเลขและข้อมูลผ่านสายเคเบิล จึงได้ตั้งชื่อดังกล่าว
อีกทั้งในปี 1930 ได้มีการก่อตั้งธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements) ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จุดประสงค์ในการก่อตั้งธนาคารนี้คือเพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชและประเทศที่เผชิญกับการขาดดุลชั่วคราวในบัญชีการเงิน
ต่อมาในปี 1944 การประชุม Bretton Woods ได้จัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการแข่งขันระหว่างอังกฤษและสหรัฐฯ บุคคลสำคัญ 2 คนที่เข้าร่วมการประชุมคือ John Maynard Keynes (จากสหราชอาณาจักร) และ Harry Dexter White (จากสหรัฐอเมริกา) พวกเขาประสบความสำเร็จในการสร้างและเริ่มต้นระเบียบใหม่ในการพัฒนาระบบการเงินโลกภายใต้สภาพปัจจุบัน
เนื้อหาหลักของระบบ Bretton Woods
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) กลายเป็นองค์กรหลักในการกำกับดูแลความสัมพันธ์ทางการเงินและเศรษฐกิจของโลก
ประกาศให้สกุลเงินมีบทบาทในการเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐและปอนด์อังกฤษ
กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถปรับได้สำหรับสกุลเงินที่ผูกกับดอลลาร์สหรัฐ (อนุญาตให้เบี่ยงเบนได้ 1%) โดยดอลลาร์สหรัฐผูกกับทองคำ (ราคาทองคำ 1 ออนซ์ = 35 ดอลลาร์)
ประเทศสมาชิก IMF ต้องได้รับความยินยอมจาก IMF ก่อนที่จะมีสิทธิ์ในการปรับอัตราแลกเปลี่ยน
หลังจากช่วงการเปลี่ยนแปลงสิ้นสุดลง สิทธิ์ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินทั้งหมดจะต้องสามารถแลกเปลี่ยนได้ เพื่อปฏิบัติตามหลักการนี้ รัฐบาลแต่ละประเทศต้องรักษาสำรองระหว่างประเทศ และสามารถแทรกแซงในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อจำเป็น
ประเทศสมาชิก IMF จะต้องชำระค่าธรรมเนียมด้วยเงินตราหรือทองคำ
ปี 1947 เพื่อต่อต้านการมาถึงของลัทธิคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรป รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ Marshall ได้อธิบายแผนนี้ในรายงานของเขา รายงานระบุว่า เศรษฐกิจยุโรปควรฟื้นฟูจนสามารถพึ่งพาตนเองในการสนับสนุนกองกำลังทางทหารของตนเอง หนึ่งในภารกิจคือการคลี่คลายปัญหาการขาดแคลนดอลลาร์ หากในปี 1949 หนี้สินดอลลาร์ของยุโรปอยู่ที่ 3.1 พันล้านดอลลาร์ หนี้ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 10.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 1959
ปี 1958 ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปได้ประกาศให้สกุลเงินของตนสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างเสรี
ปี 1964 ญี่ปุ่นประกาศให้สกุลเงินของตนสามารถแลกเปลี่ยนได้
หลังจากที่มีการประกาศข่าวการแลกเปลี่ยนสกุลเงินหลักได้อย่างเสรี ผู้คนเริ่มตระหนักว่าสหรัฐอเมริกาไม่สามารถรักษาราคา 35 ดอลลาร์ต่อออนซ์ทองคำได้อีกต่อไป อัตราเงินเฟ้อกลายเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐอเมริกา การบริหารงานของประธานาธิบดี Kennedy ได้ดำเนินการหลายอย่างที่ผิดพลาด เช่น การแนะนำภาษีดอกเบี้ย การเพิ่มต้นทุนของผู้กู้ต่างประเทศ และแผนจำกัดการให้ยืมจากต่างประเทศอย่างสมัครใจ ภาษีและข้อจำกัดเหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้มีตลาดใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ ตลาดดอลลาร์ยุโรป
ปี 1967 ปอนด์อังกฤษอ่อนค่าลง ส่งผลให้ความเสถียรที่หลอกลวงของระบบ Bretton Woods ได้รับการโจมตีครั้งสุดท้าย
ในช่วงปี 1960 การขาดดุลในบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ทำให้ทองสำรองลดลงจาก 18,000 ล้านดอลลาร์เหลือ 11,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน หนี้ต่างประเทศของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จนกระทั้งในปี 1970 สหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างมาก ซึ่งทำให้เกิดวิกฤตดอลลาร์อย่างรุนแรง ในระยะเวลาอันสั้นเงินจำนวนมากไหลออกจากสหรัฐฯ ไปยังยุโรปที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า
ในเดือนพฤษภาคม 1971 เยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ประกาศให้สกุลเงินของตนสามารถลอยตัวได้ชั่วคราว
ในเดือนสิงหาคม 1971 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ทำให้ประธานาธิบดี Nixon ต้องระงับการแลกเปลี่ยนดอลลาร์เป็นทองคำ
ต่อมาในเดือนธันวาคม 1971 การประชุมที่จัดขึ้นที่สมาคมสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตันเป็นความพยายามสุดท้าย ในการรักษาระบบ Bretton Woods ความเบี่ยงเบนระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราตราแลกเปลี่ยนที่ผูกกับราคาคงที่เพิ่มขึ้นเป็น 4.5%
การรักษาขอบเขตของช่วงราคานั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก หลังจากนั้นไม่นาน ธนาคารเยอรมนีได้เข้ามาแทรกแซงด้วยเงินทุน 5,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นต้องปิดชั่วคราว และสหรัฐอเมริกาประกาศให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง 10% อีกทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ยอมรักษามาตรฐานอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อีกต่อไป และปล่อยให้เงินตราเคลื่อนไหวตามความต้องการของตลาด
ปี 1973-1974 สหรัฐฯ ค่อย ๆ ยกเลิกภาษีดอกเบี้ยและแผนจำกัดการให้ยืมจากต่างประเทศอย่างสมัครใจ
ระบบ Bretton Woods ไม่สามารถดำรงอยู่ได้อีกต่อไป
ในปีสุดท้ายของการดำเนินงานของระบบ Bretton Woods ผู้ค้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทำกำไรจากการเก็งกำไรจำนวนมากในช่วงเวลาที่การแทรกแซงของธนาคารกลางยุติลง หลังจากที่ยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โอกาสในการทำกำไรอย่างมหาศาลเช่นนั้นก็กลายเป็นเรื่องที่จำกัดมากขึ้น หลายธนาคารประสบกับการขาดทุนจำนวนมาก และสองธนาคารที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Bankhous Hershtadt จากโคโลญ และ Franklyn National จากนิวยอร์กล้มละลายลงเนื่องจากการเก็งกำไรที่ล้มเหลว
ปี 1976 ได้มีการจัดประชุมที่จาไมกาในเมืองคิงส์ตัน ตัวแทนจากประเทศชั้นนำของโลกได้กำหนดหลักการใหม่ในการสร้างระบบเงินตราโลก ในการชำระเงินระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ ปฏิเสธที่จะใช้ทองคำเป็นเงินทุนในการชดเชยการขาดดุลการชำระเงิน องค์กรระหว่างรัฐบาล ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของระบบใหม่ ได้ทำหน้าที่ปรับความสัมพันธ์ทางเงินตราและการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยใช้สกุลเงินของประเทศในการชำระเงิน ธนาคารพาณิชย์จะดำเนินการซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศผ่านกลไกหลักของพวกเขา
ในปี 1978 ได้มีการจัดตั้งระบบการเงินยุโรป (European Money System : EMS) ขึ้น หัวใจสำคัญของ EMS คือเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้ามสกุลเงินและค่าอัตราแลกเปลี่ยนและขอบเขตที่เป็นศูนย์กลาง โดยรวมแล้ว EMS มีความคล้ายคลึงกับระบบ Bretton Woods หากอัตราแลกเปลี่ยนข้ามสกุลเงินใกล้ถึงค่าขอบเขต ทั้งสองประเทศจะต้องรับผิดชอบในการแทรกแซง โดยสกุลเงินหลักของ EMS คือมาร์คเยอรมัน
ตั้งแต่ปี 1985 สหภาพการเงินยุโรป (European Monetary Union : ECU) เริ่มกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้งานจริง แทนที่จะเป็นแค่เครื่องมือคำนวณ โดยได้มีการออกเช็คเดินทางและบัตรเครดิตที่มีชื่อจาก ECU และธนาคารก็เริ่มรับฝากเงิน ECU แล้ว
ในเดือนมกราคม 1999 สกุลเงินยุโรปใหม่ที่แทนที่ ECU คือยูโร ได้เข้ามาในตลาด 11 ประเทศในยุโรปได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่กับยูโร ธนาคารกลางยุโรปเริ่มบริหารจัดการกลยุทธ์ทางการเงินสำหรับ ECU
เงินยูโรได้ออกธนบัตรที่มีมูลค่า 5, 10, 20, 50, 100, 200 และ 500 ยูโร รวมถึงเหรียญที่มีมูลค่า 1, 2 ยูโร และ 50, 20, 10, 5, 2 และ1เซนต์
และสุดท้ายในช่วงปลายปี 1990 เงินทุนส่วนบุคคลเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในตลาดการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ข้อสงวนสิทธิ์: เนื้อหานี้มีไว้สำหรับข้อมูลทั่วไปเท่านั้นและไม่ใช่ (และไม่ควรถือว่าเป็น) คำแนะนำทางการเงินการลงทุนหรืออื่น ๆ ที่ควรพึ่งพา ความคิดเห็นใด ๆ ที่ให้ไว้ในเนื้อหาไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่าการลงทุนหลักทรัพย์การซื้อขายหรือกลยุทธ์การลงทุนใด ๆ ที่เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง