เทรดค่าเงิน รูปแบบการลงทุนกับความผันผวนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีได้

2024-02-07
สรุป

การเทรดค่าเงินคือการลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ การจัดการความเสี่ยง และการวางแผนการเทรดที่เหมาะสม ยังต้องศึกษาและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

การเทรดค่าเงินเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนได้ ด้วยการซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ ผ่านความผันผวนของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ก็จะทำให้นักลงทุนสามารถทำกำไรจากการขึ้นลงของค่าเงินได้ และจากนี้ไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับการเทรดสกุลเงินให้มากยิ่งขึ้น พร้อมแนะนำวิธีการลงทุนที่เหมาะสมให้

 

ทำความเข้าใจก่อนเทรดค่าเงิน และตลาดแลกเปลี่ยน (Forex)

การเทรดค่าเงิน คือ การซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศในตลาดที่เรียกว่าตลาดแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Market) หรือตลาดฟอเร็กซ์ (Forex Market) เพื่อทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสกุลเงิน ในการเทรด กลงทุนจะทำการซื้อขายสกุลเงินในรูปแบบคู่สกุลเงิน (Currency Pair)

นักลงทุนสามารถทำกำไรจากการเทรดได้โดยวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การซื้อคู่ฟอเร็กซ์เพื่อเทรดสกุลเงินในขณะราคาอยู่ในระดับต่ำ และปิดตำแหน่งเมื่อราคาตลาดสูงขึ้น ผลกำไรที่ได้จะเกิดขึ้นจากส่วนต่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด (ซื้อถูกขายแพง)

อย่างไรก็ตามการลงทุนในตลาดนี้มีความผันผวนสูง และมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อราคาสกุลเงิน เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง นโยบายทางการเงิน ข่าวสาร นักลงทุนจึงต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์ราคาสกุลเงิน ซึ่งอาจใช้หลักการของการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ในการประเมินจังหวะในการซื้อขายในระยะสั้น หรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ในการประเมินมูลค่าของสกุลเงินในระยะยาว จะใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 วิธีร่วมกันก็ได้

 

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเทรดสกุลเงิน

ตัวชี้วัดสำคัญที่ส่งผลต่อค่าเงินและการเทรดสกุลเงินก็คือ ระดับราคาของสกุลเงินนั้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ซึ่งค่าเงินมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ การลงทุนต่างประเทศ และการเงินของประเทศนั้น โดยจะอยู่กับหลายปัจจัย และที่เป็นปัจจัยหลัก ๆ เลยก็คือ

1. อัตราการเงินเฟ้อ (Inflation Rate) เป็นตัวบ่งชี้ระดับราคาทั่วไปของสินค้าและบริการในประเทศ อัตราการเงินเฟ้อสูง หมายความว่า ราคาของสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ความสามารถในการซื้อของสกุลเงินนั้นลดลง ดังนั้นอัตราการเงินเฟ้อสูง จะส่งผลให้ค่าเงินลดลง และอัตราการเงินเฟ้อต่ำจะส่งผลให้ค่าเงินเพิ่มขึ้น

2. อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) ซึ่งถ้าหากอัตราดอกเบี้ยสูง หมายความว่า การกู้ยืมเงินจะมีต้นทุนสูง ซึ่งทำให้การลงทุนในประเทศนั้นมีผลตอบแทนสูง ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยสูง จะส่งผลให้ค่าเงินเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยต่ำ จะส่งผลให้ค่าเงินลดลง

3. ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product : GDP) ตัวบ่งชี้ระดับผลิตภัณฑ์และบริการที่ผลิตภายในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่สูง หมายความว่า เศรษฐกิจของประเทศนั้นมีการเติบโต ซึ่งทำให้ความต้องการใช้สกุลเงินนั้นเพิ่มขึ้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมสูง จะส่งผลให้ค่าเงินเพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์มวลรวมต่ำ จะส่งผลให้ค่าเงินลดลงนั่นเอง

 

กลยุทธ์การลงทุนผ่านการเทรดค่าเงิน

1. กลยุทธ์การเลือกคู่สกุลเงิน (Currency Pair) เป็นสิ่งที่สำคัญในการลงทุนเทรดสกุลเงิน เนื่องจากคู่สกุลเงินแต่ละคู่ จะมีความผันผวนและสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน นักลงทุนควรเลือกคู่สกุลเงินที่เหมาะกับรูปแบบการลงทุน วัตถุประสงค์ และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยทั่วไปแล้ว คู่สกุลเงินที่นิยมในการเทรดคือ คู่สกุลเงินหลัก (Major Currency Pair) ซึ่งมีความผันผวนปานกลาง และมีปริมาณการซื้อขายสูง

2. กลยุทธ์การวิเคราะห์ค่าเงิน (Currency Analysis) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อค่าเงิน โดยมีวิธีการวิเคราะห์ 2 แบบ คือ วิเคราะห์พื้นฐาน (Fundamental Analysis) เป็นการวิเคราะห์ค่าเงินจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของแต่ละประเทศ และวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) เป็นการวิเคราะห์ค่าเงินจากการวิเคราะห์กราฟ และตัวชี้วัดทางเทคนิค (Technical Indicator) เช่น แนวรับ-แนวต้าน (Support-Resistance) หรือเทรนด์ไลน์ (Trend Line) เป็นต้น

3. กลยุทธ์การกำหนดจุดเข้า-ออก (Entry-Exit Strategy) เป็นการกำหนดจุดเข้า-ออกในการเทรดค่าเงิน โดยอาศัยการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพื่อหาจุดที่มีโอกาสในการทำกำไรสูง และจุดที่จะหยุดการขาดทุน (Stop Loss) เมื่อตลาดเคลื่อนที่ไม่เป็นไปตามทิศทางที่คาดหวัง นักลงทุนควรมีจุดเข้า-ออกที่ชัดเจน และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับเปลี่ยนจุดเข้า-ออกบ่อย ๆ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน และเสียเวลา

 

เทรดค่าเงิน


การวิเคราะห์เทคนิคในการเทรดสกุลเงิน

การวิเคราะห์เทคนิคในการเทรดค่าเงิน คือ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคนิค เช่น กราฟ ราคา ปริมาณการซื้อขาย และตัวชี้วัดต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มและจุดเปลี่ยนของค่าเงินในอนาคต การวิเคราะห์เทคนิคจะช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจการลงทุนได้อย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วก็จะมีหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์ตามลำดับขั้นต่อไปนี้

1. เลือกคู่เงินที่ต้องการเทรด เช่น USD/THB, EUR/USD, GBP/JPY เป็นต้น

2. เลือกช่วงเวลาที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น 1 นาที 5 นาที 1 ชั่วโมง 1 วัน

3. วิเคราะห์กราฟราคาของคู่เงินที่เลือก สังเกตแนวโน้ม เช่น ขาขึ้น ขาลง และรูปแบบกราฟ เช่น แท่งเทียน บาร์

4. เพิ่มตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับกราฟ ที่จะช่วยให้นักลงทุนเห็นสัญญาณเข้าออกที่เหมาะสม

5. ตัดสินใจเทรดตามสัญญาณที่ได้จากการวิเคราะห์เทคนิค พร้อมกำหนดจุดหยุดขาดทุนและจุดเก็บกำไร

 

การเทรดสกุลเงินกับความผันผวนในตลาด Forex

1. การวิเคราะห์ความผันผวนเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ความผันผวนโดยอาศัยข้อมูลที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยตัวเลข เช่น ความมั่นใจของผู้บริโภค ความเสถียรของรัฐบาล วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพนี้ อาจใช้เครื่องมืออย่างการสำรวจ การสัมภาษณ์ หรือการวิเคราะห์ SWOT ของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินนั้น ๆ

2. การวิเคราะห์ความผันผวนเชิงปริมาณ วิเคราะห์การเทรดค่าเงินผ่านความผันผวน โดยอาศัยข้อมูลที่สามารถวัดได้ด้วยตัวเลข เช่น อัตราดอกเบี้ย ผลิตภัณฑ์มวลรวม ค่าเงินเฉลี่ย (ตามช่วงเวลา) วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณนี้ จะเห็นภาพได้ชัดกว่าแบบแรก แต่อาจเป็นภาพรวมที่ค่อนข้างกว้าง และเป็นสถิติตามระยะเวลาช่วงหนึ่ง ๆ ซึ่งทางที่ดีแล้ว เราอยากแนะนำให้ใช้การวิเคราะห์ความผันผวนทั้ง 2 แบบไปพร้อม ๆ กันจะดีที่สุด


รูปแบบการลงทุนด้วยการเทรดค่าเงินต้องใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและพื้นฐาน การจัดการความเสี่ยง และการวางแผนการเทรดอย่างมีระบบ ผู้ที่ลงทุนในการเทรดควรมีแผน วัตถุประสงค์ งบประมาณ และช่วงเวลาที่เหมาะสมกับสไตล์การลงทุน และที่สำคัญคือควรต้องมีการศึกษาและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของตัวเอง


คำจำกัดความและความสำคัญของอัตรา Repo

คำจำกัดความและความสำคัญของอัตรา Repo

อัตราดอกเบี้ย Repo เป็นอัตราดอกเบี้ยหลักที่ธนาคารกลางใช้ในการจัดการสภาพคล่อง ควบคุมเงินเฟ้อ และมีอิทธิพลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

2024-12-26
ความหมายและกลยุทธ์พื้นฐานของ Forex

ความหมายและกลยุทธ์พื้นฐานของ Forex

หลักพื้นฐานของฟอเร็กซ์หมายถึงปัจจัยและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงินในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2024-12-26
ประวัติศาสตร์และสถานะปัจจุบันของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

ประวัติศาสตร์และสถานะปัจจุบันของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น 26% ของ GDP ทั่วโลก มีการเติบโตที่ดี แต่เผชิญกับความท้าทาย เช่น เงินเฟ้อ การจ้างงานที่อ่อนแอ และความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

2024-12-25