เทรดหุ้น เสียภาษีไหม? สิ่งที่นักลงทุนต้องรู้

2025-03-23
สรุป

​เทรดหุ้นเสียภาษีหรือไม่? ทำความเข้าใจภาษีการขายหุ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงอัตราภาษี วิธีการคำนวณ และผลกระทบต่อนักลงทุน

เทรดหุ้น เสียภาษีไหม คำถามยอดฮิตที่นักลงทุนมือใหม่และมือเก๋าต่างสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การลงทุนในตลาดหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การทำความเข้าใจเรื่องภาษีจากการเทรดหุ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดภาระภาษีในอนาคต


สำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย ณ ปี 2568 การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังคงได้รับการยกเว้นภาษีขายหุ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต นักลงทุนจึงควรติดตามข่าวสารและอัปเดตข้อมูลด้านภาษีหุ้นอย่างใกล้ชิด


ในทางกลับกัน นักลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมีข้อกำหนดทางภาษีที่แตกต่างออกไป โดยรายได้จากการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) หรือเงินปันผล จะต้องถูกนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป


ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณไปหาคำตอบว่า เทรดหุ้น เสียภาษีไหม พร้อมทั้งทำความเข้าใจโครงสร้างภาษีจากการเทรดหุ้นทั้งรูปแบบ ลงทุนหุ้นไทยและ เทรดหุ้นต่างชาติ

เทรดหุ้นสหรัฐ - EBC

การเทรดหุ้นไทย

ภาษีขายหุ้นคืออะไร ? ภาษีขายหุ้น หรือ Financial Transaction Tax เป็นภาษีที่เกิดขึ้นจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เดิมทีภาษีนี้เคยถูกจัดเก็บมาก่อน แต่ได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2535 อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพิจารณานำกลับมาใช้อีกครั้งเพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและลดความเหลื่อมล้ำในระบบภาษี


ที่มาของภาษีขายหุ้น

การเทรดหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นช่องทางลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย แต่หลายคนอาจสงสัยว่า เทรดหุ้น เสียภาษีไหม? และที่มาของ ภาษีขายหุ้น คืออะไร? ภาษีขายหุ้นมีที่มาจากความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความเป็นธรรมทางการเงิน โดยการเก็บภาษีจากผู้ที่มีรายได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางการเงินดีกว่าคนทั่วไป


ประวัติการจัดเก็บภาษีขายหุ้นในประเทศไทย

ปี 2525: รัฐบาลยกเว้นภาษีการค้า (Sales Tax) สำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการลงทุน


ปี 2535: เปลี่ยนระบบภาษีจากเซลส์แท็กซ์ (Sales Tax) เป็น ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Special Business Tax) ในอัตรา 0.1% พร้อมภาษีท้องถิ่นเพิ่มอีก 10% ของภาษีธุรกิจเฉพาะ ทำให้อัตราภาษีรวมอยู่ที่ 0.11% อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีนี้สำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของตลาด


ปี 2565: กระทรวงการคลังเริ่มพิจารณานำแนวคิดภาษีขายหุ้น กลับมาพิาจารณาอีกครั้ง เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการ


ส่งผลให้ในปัจจุบัน การเทรดหุ้นยังไม่ต้องเสียภาษีขายหุ้น เนื่องจากรัฐบาลยังคงยกเว้นการจัดเก็บภาษีนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพราะรัฐบาลอาจมีการปรับเปลี่ยนนโยบายในอนาคต


ถ้ามีการเก็บภาษีขายหุ้น จะคำนวณอย่างไร?

หากมีการบังคับใช้ภาษีขายหุ้น อัตราการจัดเก็บคาดว่าจะอยู่ที่ 0.11% ของมูลค่าการขายหุ้น โดยแบ่งเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ 0.1% และภาษีท้องถิ่น 10% ของภาษีธุรกิจเฉพาะ


ตัวอย่างการคำนวณ:

-หากขายหุ้นมูลค่า 100,000 บาท จะต้องเสียภาษีขายหุ้น 100,000 x 0.11% = 110 บาท

-ในปีแรกที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ อาจมีส่วนลดภาษี 50% ทำให้เสียภาษีเพียง 0.055% หรือ 55 บาท (ล้านละ 500 บาท)

-ปีต่อไป เสียภาษีเต็มอัตรา 0.11% หรือ 1,100 บาท (ล้านละ 1,100 บาท)


นอกจากนี้ นักลงทุนยังต้องเสียค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ 0.005% และค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ 0.001% รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ของค่าธรรมเนียมทั้งหมด ทำให้ต้นทุนรวมต่อธุรกรรมอาจสูงถึง 0.22%

แบงค์ดอลลาร์สหรัฐ - EBC

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีขายหุ้น?

หากมีการบังคับใช้ภาษีขายหุ้น ผู้ที่ต้องเสียภาษีคือ ทุกคนที่ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่มีบางกลุ่มที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่


-ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)

-สำนักงานประกันสังคม

-กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

-กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

-กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund)

-กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

-กลุ่มเหล่านี้ได้รับการยกเว้นเนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพคล่องและสวัสดิการให้กับระบบเศรษฐกิจ


การเทรดหุ้นต่างประเทศ

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้ออกประกาศใหม่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้จากรายได้ที่เกิดจากการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะการ เทรดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงรายได้จากส่วนต่างราคาหุ้น (Capital Gain) เงินปันผล และดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยไม่ว่าคุณจะโอนเงินกลับประเทศไทยในปีใดก็ตาม เงินได้เหล่านี้จะต้องถูกนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า สูงสุดไม่เกิน 35%


เทรดหุ้นต่างประเทศต้องเสียภาษีไหม?

คำตอบคือ ต้องเสียภาษี หากคุณมีรายได้จากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) หรือเงินปันผล โดยกรมสรรพากรกำหนดให้รายได้ดังกล่าวต้องถูกนำมาคำนวณภาษีตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป


เงินได้อะไรบ้างที่ต้องนำมาเสียภาษี?

-กำไรจากการขายหุ้นต่างประเทศ (Capital Gain)

หากคุณขายหุ้นต่างประเทศได้กำไร กำไรส่วนนี้จะต้องถูกนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี ตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่เรียกเก็บภาษี Capital Gain แต่หากนักลงทุนโอนเงินกลับไทย ต้องนำไปรวมเป็นเงินได้และเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า (สูงสุด 35%)


-เงินปันผลจากหุ้นต่างประเทศ (Dividend)

หากได้รับเงินปันผลจากหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีทันทีที่ได้รับ ตามกฎหมายของประเทศที่ลงทุน และเมื่อนำเงินกลับไทย ต้องรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีอีกครั้ง


-ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ต่างประเทศ

หากคุณลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศและได้รับดอกเบี้ย รายได้ส่วนนี้ก็ต้องเสียภาษีด้วย


เทรดหุ้นต่างประเทศต้องเสียภาษีหรือไม่? เช็กให้ชัด!

กรณีลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีหรือไม่?
ซื้อหุ้นต่างประเทศโดยตรง ต้องเสียภาษี
ซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศโดยตรง ต้องเสียภาษี
ซื้อกองทุนรวมที่จดทะเบียนในไทย (โดย บลจ. ไทย) ไม่ต้องเสียภาษี
ซื้อ DR หรือ DRx (Depositary Receipt) ไม่ต้องเสียภาษี

การคำนวณภาษีสำหรับการเทรดหุ้นต่างประเทศ:

กำไรจากการขายหุ้น: คำนวณโดยการหากำไรจากราคาขายลบราคาซื้อ และหักค่านายหน้าและค่าธรรมเนียม กำไรที่ได้จะต้องรวมกับรายได้อื่น ๆ เพื่อคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า

เงินปันผล: เงินปันผลที่ได้รับต้องนำมารวมคำนวณภาษี เช่นกัน

ข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ:

-วันที่ซื้อและขายหุ้น

-ราคาซื้อและราคาขาย

-ค่านายหน้าและค่าธรรมเนียม

-อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้แปลงค่าเงิน

-รายละเอียดเงินปันผล (ถ้ามี)


วิธีลดหย่อนภาษี

สามารถใช้เครดิตภาษีจากภาษีที่จ่ายในต่างประเทศมาหักลดกับภาษีที่ต้องจ่ายในไทยได้ โดยต้องตรวจสอบอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่ลงทุน การเทรดหุ้นต่างประเทศมีผลต่อการคำนวณภาษีทั้งจากกำไรขายหุ้นและเงินปันผล โดยต้องเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อยื่นภาษี และมีวิธีลดหย่อนภาษีผ่านเครดิตภาษีจากต่างประเทศได้


สรุปแล้ว การเทรดหุ้นเสียภาษีไหม?

การเทรดหุ้นในประเทศไทยและต่างประเทศมีกฎเกณฑ์ทางภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้


การเทรดหุ้นไทย: ปัจจุบันยังไม่มีการบังคับใช้ภาษีขายหุ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นการเทรดหุ้นไทยในตอนนี้ยังไม่ต้องเสียภาษีนี้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าในอนาคตอาจมีการบังคับใช้อัตราภาษีขายหุ้นที่ 0.11% ของมูลค่าการขาย โดยโบรกเกอร์จะเป็นผู้หักและจ่ายภาษีให้แทนนักลงทุน


การเทรดหุ้นต่างประเทศ: ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นมา กรมสรรพากรกำหนดให้รายได้จากการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) และเงินปันผล ต้องถูกนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า สูงสุดไม่เกิน 35%


ดังนั้น หากเป็นการเทรดหุ้นไทย ปัจจุบันยังไม่ต้องเสียภาษี แต่ควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายภาษีในอนาคต ส่วนการเทรดหุ้นต่างประเทศต้องเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลและวางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายภาษีที่อาจเปลี่ยนแปลงได้


คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

Slippage เกราะกันขาดทุน Forex ที่เทรดเดอร์ควรรู้

Slippage เกราะกันขาดทุน Forex ที่เทรดเดอร์ควรรู้

Slippage คืออะไรในตลาด Forex? รู้จักสาเหตุ วิธีป้องกัน และเทคนิคจัดการ Slippage เชิงบวก–ลบ เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสทำกำไรอย่างมืออาชีพ

2025-04-19
คำอธิบายกลยุทธ์การซื้อขายฟิวเจอร์สสำหรับผู้เริ่มต้น

คำอธิบายกลยุทธ์การซื้อขายฟิวเจอร์สสำหรับผู้เริ่มต้น

สำรวจแนวคิดสำคัญและกลยุทธ์การซื้อขายฟิวเจอร์สสำหรับผู้เริ่มต้นที่จะช่วยให้คุณจัดการความเสี่ยงและพัฒนาทักษะการซื้อขายของคุณ

2025-04-18
เส้นการกระจายการสะสม: การวิเคราะห์การไหลของเงิน

เส้นการกระจายการสะสม: การวิเคราะห์การไหลของเงิน

Accumulation Distribution Line ติดตามแรงกดดันในการซื้อและการขายโดยการรวมราคาและปริมาณเข้าด้วยกัน ช่วยให้ผู้ซื้อขายยืนยันแนวโน้มและค้นหาจุดกลับตัว

2025-04-18