การเทรดแบบ CFDs จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ทั้งตลาดขาขึ้น และตลาดขาลง โดยที่นักลงทุนไม่ต้องถือครองสินทรัพย์นั้นจริง ๆ
CFDs คือรูปแบบการเทรดที่นักลงทุนทุกคนคุ้นเคย และรู้จักกันเป็นอย่างดี โดย CFDs ถือว่าเป็นหนึ่งในพื้นฐานการเทรดของหลากหลายสินทรัพย์ เช่น Forex, ดัชนี, หุ้น รวมไปถึงเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ด้วยข้อดีอันโดดเด่นที่นักลงทุนรู้จักกันดีก็คือ การเทรดแบบ CFDs จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ทั้งตลาดขาขึ้น และตลาดขาลง โดยที่นักลงทุนไม่ต้องถือครองสินทรัพย์นั้นจริง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่ใช่ข้อดีและข้อเสียทั้งหมดของการเทรดแบบ CFDs ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงข้อมูลที่ครบรอบด้าน ต้องไปเจาะลึกเรื่อง CFDs ด้วยกัน
Contract for Difference หรือที่นักลงทุนคุ้นเคยกันในชื่อของ CFDs คือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง ของการลงทุนระหว่างโบรกเกอร์กับนักลงทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาสินทรัพย์ ตั้งแต่เริ่มเปิดสัญญา จนถึงเวลาที่ปิดสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง
โดยหลักการทำงานของการเทรดแบบ CFDs คือ นักลงทุนจะทำการเก็งกำไรจากราคาซื้อขายสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง โดยที่ไม่ได้ถือครองสินทรัพย์นั้นจริง และไม่ได้ทำการซื้อขายสินทรัพย์นั้นจริง เป็นเพียงการเก็งกำไรส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากจุดเวลาที่ทำการเปิดสัญญา และจุดเวลาที่ทำการปิดสัญญา นักลงทุนจึงสามารถทำการเก็งกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้น และตลาดขาลง โดยใช้ทักษะการเทรดที่ตัวเองมี ทั้งการวิเคราะห์แนวโน้ม การใช้ประสบการณ์ การใช้ความรู้ความสามารถ และการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีอย่างกราฟ เป็นต้น
นอกจากข้อดีของการเทรดแบบ CFDs ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถเก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลงแล้ว CFDs ยังมีข้อดีที่น่าสนใจอีก คือ
1. เลือกลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์ ในปัจจุบันเมื่อนักลงทุนเลือกเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์แล้ว จะสามารถทำการลงทุนกับสินทรัพย์ในหลากหลายตลาดได้ทันที โดยที่ไม่ต้องสลับบัญชีไปมา ช่วยให้ง่ายต่อการบริหารจัดการพอร์ตยิ่งขึ้น
2. ใช้เงินลงทุนไม่สูง เนื่องการการเทรดแบบ CFDs เป็นเพียงสัญญาซื้อขายที่นักลงทุนทำกับโบรกเกอร์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงเหมือนกับการลงทุนซื้อหุ้นแบบรายตัว โดยเงินทุนขั้นต่ำที่ต้องใช้นั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละที่
เมื่อได้ทราบถึงข้อดีของการเทรดด้วยวิธี CFDs กันแล้ว มาถึงข้อเสียที่นักลงทุนควรรู้บ้าง โดยมีดังนี้
1. มีความเสี่ยง เป็นธรรมของการลงทุนทุกประเภท ที่ไม่มีประเภทใดที่มีความปลอดภัย 100% การลงทุนแบบ CFDs ก็เช่นเดียวกัน ที่ถึงแม้จะใช้เงินทุนต่ำ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ไม่ต่ำเลย ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุนแบบ CFDs คือ การเลือกใช้ตัวช่วยเลเวอเรจของนักลงทุนเอง ที่บางคนไม่ได้ทำการศึกษาให้ดี จึงใช้เลเวอเรจในอัตราที่สูงเกินไป ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ความเสียหายก็สูงตามไปด้วย
2. ไม่ได้ถือครองสินทรัพย์จริง ดังที่ได้กล่าวไปว่า การลงทุนแบบ CFDs เป็นเพียงการทำสัญญาซื้อขายส่วนต่างเท่านั้น นักลงทุนจะไม่ได้ถือครองสินทรัพย์นั้นจริง ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากผลประกอบการของสินทรัพย์นั้น ๆ
เมื่อการลงทุนแบบ CFDs คือ การซื้อขายสัญญาส่วนต่าง ที่นักลงทุนไม่ได้ครอบครองสินทรัพย์นั้นจริง นักลงทุนจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการเลือกโบรกเกอร์ให้ดีที่สุด เพราะสัญญาที่ทำขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นระหว่างตัวนักลงทุนเองกับโบรกเกอร์ ดังนั้นเลือกใช้บริการโบรกเกอร์จากบริษัทที่มีชื่อเสียง มีความมั่นคงทางการเงิน และมีความรู้ในการลงทุน เพื่อให้การเทรดแบบ CFDs เป็นทางเลือกที่สร้างผลตอบแทนที่ดีให้ได้จริง
ข้อสงวนสิทธิ์: เนื้อหานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย (และไม่ควรถือเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรืออื่น ๆ ที่ควรเชื่อถือได้ ไม่มีการให้ความเห็นในเนื้อหาที่ถือเป็นคำแนะนำโดย EBC หรือผู้เขียนว่าการลงทุน การรักษาความปลอดภัย ธุรกรรม หรือกลยุทธ์การลงทุนใดๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ