เรียนรู้กลยุทธ์การลงทุน CFDs เคล็ดลับสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

2023-12-25
สรุป

การเลือกใช้กลยุทธ์การเทรด CFDs จะขึ้นอยู่กับลักษณะและวัตถุประสงค์ของเทรดเดอร์ ซึ่งถ้ายิ่งรู้และเข้าใจ ก็จะยิ่งสามารถนำไปใช้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเทรดแบบ CFDs หรือ Contract for Difference เป็นกลยุทธ์ที่มีความนิยมในแวดวงการเงินการลงทุน เพราะนี่คือวิธีที่จะทำให้โอกาสทำกำไรของเทรดเดอร์มีสูงขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่ต้องระวังด้วยเช่นกันโดยเฉพาะกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และการทำกำไรจาก CFDs อาจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกับการซื้อมาขายไปเพื่อทำกำไรแค่นั้น แต่เป็นเรื่องที่ต้องการการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจ ต้องมีการวางแผนและการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม เพราะกลยุทธ์ที่ดีและถูกต้อง จะสามารถเพิ่มโอกาสสำเร็จในการลงทุน CFDs ให้คุณได้

 


ทุกกลยุทธ์เริ่มต้นที่การลงทุนอย่างเข้าใจ


1. การศึกษาตลาดให้เข้าใจอย่างละเอียด แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ตาม คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าไปศึกษาถึงสิ่งที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งในที่นี้ก็จะเป็นเรื่องของตลาด สิ่งที่ต้องทำคือ การศึกษาทั้งเรื่องพื้นฐานของสินทรัพย์ ที่มาที่ไปของกลไกการเทรด รวมไปถึงเรื่องของการทำความเข้าใจถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สถานการณ์และนโยบายทางการเงิน และตำแหน่งของตลาด ณ เวลานั้น ๆ

และยังต้องศึกษาเรื่องของการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น แท่งเทียนและกราฟในรูปแบบต่าง แนวรับต้าน แนวต้าน การอ่านสิ่งเหล่านี้ได้ไวและเข้าใจ จะสนับสนุนให้เวลาที่ต้องคิดลงทุนแบบแข่งกับเวลาทำได้ง่ายขึ้น

2. การทำความเข้าใจใน CFDs นอกเหนือจากการเรียนรู้เรื่องตลาดแล้ว สิ่งต่อมาที่เทรดเดอร์ต้องทำก็คือ การทำความเข้าใจกับ CFDs เช่น การเรียนรู้ความต่างระหว่างการซื้อและการขาย CFDs, การศึกษาค่าสเปรด (Spread) และการคำนวณอัตรา Swap ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อการเทรดของคุณ

3. การวางแผนกลยุทธ์อย่างรอบคอบ เริ่มต้นด้วยการวางแผนการเทรดอย่างรอบคอบ ที่รวมถึงเป้าหมาย ระยะเวลา และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในการลงทุน รวมไปถึงการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินในพอร์ตตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีวินัย ซึ่งเรื่องนี้ก็จะรวมไปถึงการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เช่น กำหนดระดับ Take-Profit เพื่อกำหนดระดับของกำไรที่ต้องการ การกำหนดขีดจำกัดของความเสี่ยง และการใช้ Stop-Loss เพื่อควบคุมการขาดทุนของพอร์ต

 

6.jpg


กลยุทธ์เทรด ใช้เป็นเครื่องมือลงทุนตามสถานการณ์


1. Swing Trading เป็นกลยุทธ์ที่เป็นการเข้าลงทุนในตลาดผ่านบริษัทที่มีการเคลื่อนไหวมาก โดยทำการเทรดที่ปลายของการเคลื่อนไหว เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงของราคาและคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตลาดได้ดี

2. Day Trading การเทรดแบบรายวัน จะทำการเปิดและปิดการเทรดให้จบในวันเดียว เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือผู้ที่มีเวลาจำกัดที่ต้องการทำกำไรในระยะเวลาสั้น

3. Scalping คือการเทรดระยะสั้น คล้าย ๆ กับเดย์เทรด แต่จะเป็นการเปิดและปิดการเทรดให้จบภายในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีทักษะและประสบการณ์ในการทำกำไรจากความผันผวนของตลาดมาอย่างยาวนานแล้ว

4. News Trading หรือการเทรดตามข่าว เป็นการเทรดโดยคาดการณ์ผลกระทบจากข่าวและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่เห็นผ่านสื่อต่าง ๆ เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการใช้ข้อมูลจากข่าวมาช่วยตัดสินใจลงทุน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตลาดและนำไปสู่การทำกำไรจากการปรับตัวตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

อย่างที่บอกไปว่า การทำกำไรจากการเทรด CFDs ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น เพียงแค่เรามีความตั้งใจในการศึกษาและการทำความเข้าใจในตลาดให้ละเอียด ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการลงทุนได้ และในตลาดที่ผันผวนนี้หากคุณมีกลยุทธ์ที่ดีในมือเตรียมเอาไว้แล้ว ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน ก็มีโอกาสสำเร็จได้มากกว่าเสมอ


ข้อสงวนสิทธิ์: เนื้อหานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย (และไม่ควรถือเป็น) คำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรืออื่น ๆ ที่ควรเชื่อถือได้ ไม่มีการให้ความเห็นในเนื้อหาที่ถือเป็นคำแนะนำโดย EBC หรือผู้เขียนว่าการลงทุน การรักษาความปลอดภัย ธุรกรรม หรือกลยุทธ์การลงทุนใดๆ นั้นเหมาะสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ



คำจำกัดความและความสำคัญของอัตรา Repo

คำจำกัดความและความสำคัญของอัตรา Repo

อัตราดอกเบี้ย Repo เป็นอัตราดอกเบี้ยหลักที่ธนาคารกลางใช้ในการจัดการสภาพคล่อง ควบคุมเงินเฟ้อ และมีอิทธิพลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

2024-12-26
ความหมายและกลยุทธ์พื้นฐานของ Forex

ความหมายและกลยุทธ์พื้นฐานของ Forex

หลักพื้นฐานของฟอเร็กซ์หมายถึงปัจจัยและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงินในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2024-12-26
ประวัติศาสตร์และสถานะปัจจุบันของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

ประวัติศาสตร์และสถานะปัจจุบันของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น 26% ของ GDP ทั่วโลก มีการเติบโตที่ดี แต่เผชิญกับความท้าทาย เช่น เงินเฟ้อ การจ้างงานที่อ่อนแอ และความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

2024-12-25