5 สกุลเงินที่ผันผวนตามสินค้าโภคภัณฑ์ เข้าใจความเชื่อมโยงและผลกระทบ

2025-03-10
สรุป

สินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร ทำไมถึงมีความเชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อ 5 สกุลเงินอย่าง AUD/USD CAD/JPY และ USD/NZD

ในการโลกการเงินที่มีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างค่าเงินกับสินค้าโภคภัณฑ์ การเทรดสินค้าโภคภันฑ์ด้วยสกุลเงินต่างๆ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งสกุลเงินเหล่านั้นอาจได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกในแต่ละประเทศ บทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับสกุลเงินสำคัญๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงยังส่งผลต่อค่าเงินของประเทศนั้นๆอีกด้วย 

สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ - EBC

สินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร? 

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หมายถึง สินค้าที่ไม่ขึ้นกับแหล่งผู้ผลิตเฉพาะที่ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกและนำเข้าสินค้าเหล่านี้จะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศนั้นๆ แต่ก็มีสินค้าโภคภัณฑ์บางชนิดที่เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เช่น ทองคำ น้ำมัน ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะผลิตจากที่ไหนก็ตาม เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์เปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลกระทบไปยังสกุลเงินของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า 


ประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์ 

สินค้าโภคภัณฑ์ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น สินค้าด้านพลังงาน (Energy) เช่น น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ, โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) เช่น ทองแดงและอลูมิเนียม, โลหะมีค่า (Precious Metals) เช่น ทองคำและเงิน, สินค้าเกษตร (Agricultural) เช่น ข้าวโพดและกาแฟ, และสินค้าปศุสัตว์ (Livestock) เช่น เนื้อโคและสุกร ซึ่งทุกกลุ่มมีการเชื่อมโยงกับค่าเงินของประเทศต่าง ๆ อย่างชัดเจน 


ความสัมพันธ์ระหว่างสกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อตลาดการเงิน? 

สกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์จะมีผลโดยตรงต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงิน เมื่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้น สกุลเงินของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้านั้นๆ จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง ค่าเงินของประเทศนั้นๆ ก็อาจอ่อนค่าลงเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ประเทศที่เป็นผู้นำเข้าโดยตรงก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน อาทิ 


ญี่ปุ่นกับน้ำมัน: ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก มีอัตราการบริโภคน้ำมันเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันจึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อค่าเงินเยน (JPY) เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลง


แคนาดากับน้ำมัน: ในขณะที่แคนาดาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรรมชาติรายใหญ่ของโลก ดังนั้น ค่าเงินดอลลาร์แคนาดา (CAD) จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาก็มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากการส่งออกน้ำมันช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ


ออสเตรเลียผู้ผลิตและส่งออกทองคำรายใหญ่: ราคาทองในตลาดโลกส่งผลต่อค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อราคาทองคำสูงขึ้น ค่าเงิน AUD จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ 


นิวซีแลนด์และสินค้าเกษตรและปศุสัตว์: สกุลเงินนิวซีแลนด์ (NZD) แม้จะเป็นหนึ่งในสกุลเงินหลักที่ไม่ได้มีสัดส่วนการเทรดสูงมากนัก แต่ก็เป็นสกุลเงินที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากนิวซีแลนด์มีอุตสาหกรรมที่ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ   


โดยเฉพาะในด้านสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการส่งออกของประเทศ โดยเฉพาะ เนื้อแกะ, ผลิตภัณฑ์นม, และขนสัตว์ที่นิวซีแลนด์ส่งออกมากที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ การที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นจะทำให้ดอลลาร์นิวซีแลนด์มีแนวโน้มแข็งค่าตามไปด้วย 


สังเกตผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของสินค้าโภคภัณฑ์ได้จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนในคู่สกุลเงินต่าง ๆ เช่น 

AUD/USD กับทองคำ: เมื่อราคาทองคำเพิ่มขึ้น นักลงทุนมักจะซื้อ AUDUSD เนื่องจากออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกทองคำรายใหญ่ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินของทั้งสองประเทศมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น 


CAD/JPY เชื่อมโยงกับราคาน้ำมัน: เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ค่าเงิน CAD/JPY จะมักจะเคลื่อนไหวตามไปด้วย เพราะแคนาดาเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันในปริมาณมาก การเคลื่อนไหวนี้ส่งผลต่อการค้าและการเงินในทั้งสองประเทศ 


USD/NZD เกี่ยวกับสินค้าเกษตรและปศุสัตว์: เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสินค้าปศุสัตว์ที่สำคัญที่สุดในโลก เช่น เนื้อแกะ, ผลิตภัณฑ์นม, และขนสัตว์ การเคลื่อนไหวของราคาสินค้าเหล่านี้มีผลโดยตรงต่ออัตราแลกเปลี่ยนในคู่สกุลเงิน USD/NZD เมื่อราคาสินค้าเกษตรและปศุสัตว์สูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดโลก มักจะทำให้ค่าเงินนิวซีแลนด์แข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ (USD) เนื่องจากนักลงทุนมักมองว่าค่าเงินของนิวซีแลนด์จะได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 


ทั้งนี้ การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสกุลเงินที่มีความสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์ จะช่วยให้การวิเคราะห์ค่าเงินและการลงทุนในตลาดการเงินมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวนจะมีผลต่อค่าเงินในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนหรือผู้ที่สนใจในตลาดเงินสามารถคาดการณ์และปรับกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การเทรดสกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้เล่นในตลาดการเงินต้องสามารถปรับตัวให้ทันกับความผันผวนของสินค้าต่าง ๆ ที่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกและการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในตลาด ทั้งนี้ความเข้าใจในสภาวะตลาดและการเคลื่อนไหวของสินค้าโภคภัณฑ์จะเป็นกุญแจสำคัญในการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ  


สรุป 

การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ทองคำ และสินค้าเกษตร ส่งผลโดยตรงต่อค่าเงินของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า สกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเหล่านี้จะมีการเคลื่อนไหวตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก การเข้าใจความสัมพันธ์นี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์การลงทุนได้ดียิ่งขึ้น 


คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

Slippage เกราะกันขาดทุน Forex ที่เทรดเดอร์ควรรู้

Slippage เกราะกันขาดทุน Forex ที่เทรดเดอร์ควรรู้

Slippage คืออะไรในตลาด Forex? รู้จักสาเหตุ วิธีป้องกัน และเทคนิคจัดการ Slippage เชิงบวก–ลบ เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสทำกำไรอย่างมืออาชีพ

2025-04-19
คำอธิบายกลยุทธ์การซื้อขายฟิวเจอร์สสำหรับผู้เริ่มต้น

คำอธิบายกลยุทธ์การซื้อขายฟิวเจอร์สสำหรับผู้เริ่มต้น

สำรวจแนวคิดสำคัญและกลยุทธ์การซื้อขายฟิวเจอร์สสำหรับผู้เริ่มต้นที่จะช่วยให้คุณจัดการความเสี่ยงและพัฒนาทักษะการซื้อขายของคุณ

2025-04-18
เส้นการกระจายการสะสม: การวิเคราะห์การไหลของเงิน

เส้นการกระจายการสะสม: การวิเคราะห์การไหลของเงิน

Accumulation Distribution Line ติดตามแรงกดดันในการซื้อและการขายโดยการรวมราคาและปริมาณเข้าด้วยกัน ช่วยให้ผู้ซื้อขายยืนยันแนวโน้มและค้นหาจุดกลับตัว

2025-04-18