โบรกเกอร์ Forex คือ ตัวกลางเชื่อมโยงนักลงทุนกับสถาบันการเงิน โดยทำการรับคำสั่งซื้อขายจากนักลงทุนส่งต่อไปยังธนาคาร เพื่อจับคู่คำสั่งซื้อขายในสินทรัพย์นั้นๆ
ในปัจจุบันโบรกเกอร์ Forex ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้ที่ชื่นชอบการลงทุนใน Forex และมีนักลงทุนจำนวนมากที่ให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นตลาดลงทุนจากทั่วโลก มีสภาพคล่องสูงและสามารถทำกำไรได้จากความผันผวนมากว่าการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ แต่ได้มากก็ย่อมเสียมาก
เทรดเดอร์มือใหม่คงจะเคยได้ยินโบรกเกอร์ Forex กันมาบ้าง บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักให้มากขึ้น และรับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้จบ คุณจะเข้าความสำคัญของโบรกเกอร์ และรู้วิธีเลือกโบรกเกอร์ยังไงไม่ให้ถูกหลอก
โบรกเกอร์ Forex คืออะไร?
โบรกเกอร์ คือ บริษัทหรือองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เชื่อมโยงระหว่างนักลงทุนและผู้ให้สภาพคล่อง (liquidity provider) หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อทำการซื้อขายในสินทรัพย์นั้นๆ ผ่านเครื่อข่ายออนไลน์ เช่น หุ้น, ฟอเร็กซ์, สินค้าโภคภัณฑ์ และอื่นๆ
โดยโบรกเกอร์จะรับคำสั่งซื้อ หรือคำสั่งขายจากนักลงทุน และส่งตรงไปยังธนาคาร ในการจับคู่คำสั่งซื้อขาย การส่งคำสั่งแบบนี้เรียกว่า No-Dealing Desks
แต่การส่งคำสั่งซื้อของโบรกเกอร์ยังทำได้อีกแบบ นั้นคือ Dealing Desk หรือการที่โบรกเกอร์รับคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์ และทำการจับคู่คำสั่งด้วยตัวโบรกเอง โดยไม่ผ่านธนาคาร
รู้จักโบรกเกอร์กันไปแล้ว ที่นี่ต้องรู้ก่อนว่า Forex คืออะไร?
Forex ย่อมาจาก Foreign Exchange คือ ตลาดที่ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินจากสกุลเงินหนึ่งไปเป็นอีกสกุลเงินหนึ่ง หรือบางที่อาจเรียกตลาดนี้ว่าเป็น ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ หากเราต้องการไปเที่ยวกำแพงเมืองจีน เราต้องไปที่ธนาคาเพื่อทำการแลกเงินบาท เป็น เงินหยวน ถึงสามารถซื้อขายได้ในประเทศจีน ดังนั้น โบรกเกอร์ Forex จึงเป็นตัวกลางหรือธนาคารที่ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินออนไลน์
ทำไมต้องมีโบรกเกอร์ Forex?
เนื่องจากตลาด Forex หรือตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณซื้อขายเฉลี่ยนต่อวันอยู่ที่หลาย 6-7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสามารถทำการซื้อขาย 5 วันทำการ ตลอด 24 ชั่วโมง เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 2 วัน (นอกจากนี้ วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือเทศกาลต่าง ๆ อาจส่งผลทำให้ เวลาตลาดเปิด-ปิดมีการเปลี่ยนแปลง นักลงทุนควรติดตามการแจ้งเตือนจากโบรกเกอร์ Forex)
การซื้อขายมหาศาลในตลาด Forex จะเปิดให้ซื้อขายเฉพาะสถาบันการเงิน ธนาคารกลาง กองทุนเฮดจ์ฟันด์ หรือผู้เล่นรายใหญ่เท่านั้น และตลาด Forex มีรูปแบบการซื้อขายที่เรียกว่า Over-the-Counter หรือการซื้อขายโดยตรง (ไม่มีตลาดกลาง) ดังนั้นนักลงทุนรายย่อยอย่างเรา จึงจำเป็นต้องพึ่งโบรกเกอร์ Forex
อีกอย่างหนึ่งคือ โบรกเกอร์ Forex ช่วยเพิ่มความสะดวกให้เรา เมื่อก่อนเวลาจะทำธุรกรรมต่าง ๆ เราจะต้องไปที่ธนาคารเพื่อทำธุรกรรมหรือแลกเงิน การมีโบรกเกอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางซื้อขาย ทำให้นักลงทุนสามารถทำธุรกรรมผ่านโบรกเกอร์ได้ อีกทั้งยังประหยัดเวลาขึ้นเยอะเลย คุณว่าไหม?
หน้าที่ของโบรกเกอร์ Forex
1.บริการแพลตฟอร์มเทรด
โบรกเกอร์จัดหาแพลตฟอร์มที่สามารถทำการซื้อขายให้กับเทรดเดอร์ โดยในปัจจจุบัน แอพเทรด Forex ที่ใช้กันมากที่สุดคือ MetaTrader 5 (MT5) หรือเป็นเวอร์ชั่นอัพเกรดจาก MetaTrader 4 (MT4) ซึ่งถือเป็นแอพมาตรฐาน ใช้งานง่ายและเครื่องมือวิเคราะห์กราฟ และ Indicator ที่ครบครัน นักลงทุนมือใหม่ควรจะศึกษาวิธีใช้งานเพิ่มเติม ซึ่งในโลกออนไลน์มีผู้สอนไว้เยอะมาก
2.ตัวกลางซื้อขาย
อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า โบรกเกอร์ Forex จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง หรือนายหน้าในการรับส่งคำสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องดำเนินการผ่าน server ของโบรกที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิภาคการเงินหลัก ๆ เช่น ลอนดอน นิวยอร์ก ฮ่องกง โตเกียว สิงค์โปร เป็นต้น ทำให้ไม่ว่าเทรดเดอร์จะอยู่ที่ไหน ก็สามารถส่งคำซื้อขายได้ ดังนั้นการที่มี server อยู่หลาย ๆ แห่งยังบอกถึงประสิทธิภาพในการจับคู่คำสั่งซื้อของโบรกเกอร์อีกด้วย
3.สนับสนุนข้อมูลเชิงลึก
การทำงานของโบรกเกอร์ Forex โดยส่วนใหญ่จะเหมือนกัน แต่ที่แตกต่างกันไปคือ การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เช่น มอบเครื่องมือวิเคราะห์ตลาด, เครื่องมือตัวชี้วัด, กราฟวิเคราะห์ทางเทคนิค, ร่วมถึงข่าวเศรษฐกิจรายวัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถใช้อ้างอิงและนำไปพิจรณาก่อนตัดสินใจลงทุนได้เป็นอย่างดี
4.เปิดบัญชีเทรด
ก่อนเริ่มเทรด Forex ต้องทำการเปิดบัญชีกับทางโบรกเกอร์ก่อน โดยโบรกจะนำเอาข้อมูลส่วนตัวและแบบประเมิณความเสี่ยงของนักลงทุนจัดเก็บไว้เป็นข้อมูลหลักฐาน และส่งต่อไปให้ธนาคาร เพื่อทำการเปิดบัญชี ซึ่งการขอรายละเอียดข้อมูล และระยะเวลาเปิดแต่ละประเภทบัญชีก็แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่เลือกด้วย
5.คุ้มครองนักลงทุน
โบรกเกอร์ที่จริงจัง ควรใส่ใจให้ความคุ้มครองนักลงทุน ถือเป็นข้อที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ตลาด Forex ถือเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง เพราะมีปัจจัยจากหลายแห่ง รวมถึงความเสี่ยงที่โบรกเกอร์ล้มละลาย หรือปิดหาย
ดังนั้น โบรกเกอร์ Forex ที่มีความน่าเชื่อถือจะให้ความสำคัญกับการปกป้องนักลงทุนจากความเสี่ยงต่าง ๆ โดยมีมาตรการที่คอยดูแลทั้งในเรื่องเงินทุนและความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
การเลือกโบรกเกอร์ Forex
1.ภาพลักษณ์โบรกเกอร์
ภาพลักษณ์ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเป้าหมายปลายทางของโบรกเกอร์ เช่น บางโบรกเกอร์มีการร่วมมือกับสถาบันการเรียนรู้ จัดตั้งการเรียนการสอน งานสัมมนาให้ความรู้การเงินกับผู้ที่สนใจลงทุน อีกทั้งยังไม่ตกเป็นเหยื่อของการลงทุน นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับองค์กรชั้นนำต่าง ๆ เช่น โครงการ CSR หรือเป็นสปอนเซอร์ให้กับสโมสรฟุตบอล ซึ่งบอกถึงความมั่นคงทางการเงินของโบรกเกอร์เลยก็ว่าได้ ยิ่งพันธมิตรเยอะ ยิ่งแสดงถึงความมั่นคง และความตั้งใจของโบรกเกอร์ Forex
2.ใบอนุญาตและความน่าเชื่อถือ
สิ่งที่โบรกเกอร์ Forex ขาดไม่ได้คือ ใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน เพราะเป็นประตูบานแรกที่จะได้รับความไว้วางใจจากเทรดเดอร์ ซึ่งในปัจจุบันใบอนุญาตที่ได้รับความนิยมและมีมาตรฐานระดับสากลคือ ใบอนุญาต FCA และ ASIC เนื่องจากมีหน่วยงานกำกับดูแลที่เข้มงวด หากเราเลือกโบรกเกอร์ที่มี 2 ใบอนุญาตนี้ สามารถรับรองได้ถึงความปลอดภัยและมั่นคงระยะยาว
แต่ในบางกรณีมีการแอบอ้างใบอนุญาต หรือใช้ใบอนุญาตปลอม ซึ่งเราไม่ตรวจสอบได้จากหน้าเว็ปไซต์โบรกเกอร์ สิ่งที่สามารถทำได้คือ ตรวจเช็คกับเว็ปไซต์ของหน่วยงานกำกับดูแลโดยตรง เช่น เว็ปไซต์หน่วยงาน FCA หรือ ASIC
3.ประเภทบัญชี
โบรกเกอร์ Forex มี 2 ประเภทบัญชีหลัก คือ บัญชีเทรดจริง และบัญชีทดลอง (Demo Account) บัญชีจริงก็แบ่งแยกออกไปตามแต่ละโบรก เช่น บัญชีมาตรฐาน บัญชี ECN บัญชี STP บัญชี FCA และอื่นๆ โดยแต่ละบัญชีก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าฝากถอนขั้นต่ำ ค่าสเปรดและอื่นๆ ดังนั้น ก่อนเลือกประเภทบัญชี เทรดเดอร์ควรศึกษาละเอียดและหาบัญชีที่เหมาะสมกับการเทรด
4.ผลิตภัณฑ์เทรด
การเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การเทรดเป็นสิ่งสำคัญ เทรดเดอร์ควรเลือกสินทรัพย์ที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของตนเอง นอกจากนี้ โบรกเกอร์ Forex ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือกเทรด อาจแสดงถึงความมั่นคงทางการเงิน และความใส่ใจต่อความต้องการที่แตกต่างกันของนักลงทุน
5.ค่าดำเนินการจากโบรกเกอร์
รายได้หลักของโบรกเกอร์ มาจากค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าสเปรด สวอป ค่าธรรมเนียมฝาก-ถอน หรือค่าธรรมเนียมแอบแฝง ค่าดำเนินการเหล่านี้ ยังเป็นตัวชี้วัดชั้นดีของมาตรฐานหรือความซื่อสัตย์ของโบรกเกอร์ Forex
ก็จริงอยู่ที่ว่า ค่าธรรมเนียมหรือสเปรดต่ำช่วยเพิ่มผลตอบแทน แต่บางโบรกเกอร์ที่ให้บริการสเปรดต่ำมากจนเกินไป อาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ แทน เช่นค่าสลิปเพจ (Slippage) เป็นต้น ดังนั้นเราไม่ควรเลือกค่าธรรมเนียมที่สูงหรือต่ำเกินไป
ซึ่งค่าธรรมเนียมเฉลี่ยอุตสาหกรรมในผลิตภัณฑ์ Forex อาจเปลี่ยบเทียบค่อนข้างยาก เพราะมีหลายคู่เงิน ในที่นี้จะยกตัวอย่าง ค่าสเปรดที่ต่ำสุดคือ EURUSD อยู่ที่ 0 pips และสูงสุดคือ GBPAUD อยู่ที่ 18 pips ทั้งนี้เทรดเดอร์สามารถเข้าไปดูราคาได้ในเว็ปไซต์ของโบรกเกอร์ Forex และทดสอบก่อนตัดสินใจลงทุนจริง
6.รีวิวจากผู้ใช้งานจริง
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีและสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส แต่ด้วยปริมาณข้อมูลที่หลั่งไหลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เทรดเดอร์จึงต้องใช้วิจารณญาณในการคัดกรองข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือ
การอ่านรีวิวและความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริงผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Blogger การลงทุน หรือเว็บไซต์รีวิวโบรกเกอร์ Forex ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมของการให้บริการโบรกเกอร์นั้นๆ
7.ความเร็วฝาก-ถอนเงิน
ในโลกการเทรด Forex ความรวดเร็วและความสะดวกในการฝาก-ถอนเงิน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เทรดเดอร์ใช้พิจารณาเลือกโบรกเกอร์ Forex เพราะการฝาก-ถอนที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งผลโดยตรงต่อกลยุทธ์การเทรดและความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเงินทุน
8.บริการที่ตอบโจทย์
ในตลาด Forex ที่มีการแข่งขันสูง การบริการลูกค้า (Customer Service) เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้โบรกเกอร์มีความโดดเด่นและได้รับความไว้วางใจ ซึ่งความสามารถในการให้บริการในแต่ละโบรกจะแตกต่างกันไป ซึ่งหากได้รับการบริการที่ตรงจุด ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว
สำหรับเทรดเดอร์มือเก่า มือใหม่ การได้รับบริการที่รวดเร็ว ทันใจ ออนไลน์ 24 ชั่วโมง อาจทำให้คุณประทับใจ แต่หากคุณได้รับบริการที่จริงใจ ค่อยแนะนำตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการถอนเงิน นั้นบ่งบอกถึงความใส่ใจ
โบรกเกอร์ Forex ทำเงินอย่างไร?
1.ค่าสเปรด
ค่าสเปรด (Spread) คือ ความแตกต่างระหว่าง ราคาเสนอซื้อ (bid) และราคาขาย (ask) ของสินทรัพย์นั้นๆ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของโบรกเกอร์ Forex วิธีคำนวณง่าย ๆ นำราคา ask - ราคา bid = ค่าสเปรด เช่น
เมื่อเราเทรดคู่สกุลเงิน EURUSD (ยูโร/ดอลลาร์สหรัฐ) ราคาตลาด bid อยู่ที่ 1.2000 และราคา ask อยู่ที่ 1.2005 จะได้ค่าสเปรดจะเท่ากับ 0.0005 หรือ 5 จุด (Point)
ซึ่งหากเราทำการซื้อขาย เราจะต้องซื้อที่ราคา ask และขายในราคา bid ซึ่งหมายความว่า เราจะขาดทุน 5 จุด และ 5 จุดนี้ก็คือรายได้จากโบรกเกอร์ การเก็บค่า Spread ส่วนใหญ่จะอยู่ในระเภทบัญชี Standard stp
ดังนั้นเพียงแค่เราเปิดออเดอร์ โบรกเกอร์ ก็ได้กำไรจากส่วนต่างตรงนี้ไปแล้ว ทั้งนี้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ จะมีค่าสเปรดไม่เท่ากัน นักลงทุนสามารถดูรายละเอียดราคาผลิตภัณฑ์ได้บนหน้าเว็ปไซต์โบรกเกอร์ Forex
2.ค่าคอมมิชชั่นการเทรด
ค่า Commission จากของโบรกเกอร์ Forex จะมาในรูปแบบ Flat Commission หรือค่าคอมคงที่ เช่น เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น 6$ ต่อ การเทรดครบ 1lot และค่า Spread ค่อนข้างต่ำไปจนถึง 0pips ซึ่งเราจะเห็นการเก็บค่าคอมแบบนี้ผ่าน บัญชีเทรด ECN (Electronic Communication Network) หรือเป็นบัญชีที่ดีที่สุดของโบรกเกอร์
โดยทั่วไป โบรกเกอร์ Forex จะมีให้เราเลือกประเภทบัญชีเทรด ซึ่งแต่ละบัญชีก็จะมีการเก็บค่าดำเนินการ ทั้งในแบบค่าสเปรด และคอมมิชชั่น ที่แตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถเลือกได้ตามความถนัดของแต่ละคน
3.ค่าสวอป
ค่าสวอป (Swap) เกิดจากการเปิดออเดอร์ข้ามคืน และจะต้องจ่ายเป็นค่าอัตราดอกเบี้ยของคู่สกุลเงินนั้นๆ นอกจากนี้ ค่า Swap อาจทำให้เราได้กำไรเพิ่มเติมจากการปรับอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย
สรุป
โบรกเกอร์ Forex มีบทบาทสำคัญต่อการลงทุนในฟอเร็กซ์ โดยช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดและซื้อขายสินทรัพย์ได้อย่างสะดวกและง่าย ซึ่งหากเราเข้าใจการทำงานของโบรกเกอร์แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้คือ การเลือกโบรกเกอร์ให้ตรงกับสไตล์การลงทุน และควรคำถึงความมั่นคงและปลอดภัยของโบรกเกอร์เป็นอับแรก
การเลือกโบรกเกอร์ Forex ให้ดี อาจเปรียบได้เหมือนดังการเลือกคู่ครอง หากได้คนรักที่ดี ไม่นอกใจ มีความมั่นคง ค่อยซัพพอร์ต ไม่ว่าเราจะทำอะไรเราก็จะประสบความสำเร็จ การเลือกโบรกเกอร์ก็เช่นกัน
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใดๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ